Page 60 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 60

การปฏิบัติการช่วยเหลือที่พวกเขาจะได้รับ หลังจากที่ได้รับและเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติ

                  นั้นอย่างครบถ้วนแล้ว


                        กฎหมายนี้ครอบคลุมถึงอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งอยู่ในบรรพที่ ๖ หมวด ๖: อนามัยเจริญพันธุ์

                  และบรรพที่ ๗ สุขภาพของมารดา ทารก เด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ และผู้พิการ หมวด ๒ โดยในหมวด ๖

                  มาตรา ๗๑ ระบุว่า อนามัยเจริญพันธุ์หมายถึงการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของ

                  ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อย่างไรก็ตามในมาตรา ๗๒ ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในการมีอนามัยเจริญพันธุ์

                  และสุขภาพทางเพศที่ดี โดยปราศจากการบังคับ และ/หรือความรุนแรงกับคู่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

                  มีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ของตน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ การบังคับ และ/

                  หรือความรุนแรงซึ่งเคารพคุณธรรม และไม่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักทางศาสนา มี

                  สิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะมีบุตรเมื่อไรและมีจ�านวนเท่าไร (Rights to Decide Whether or

                  When to Have Children) ตามลักษณะการปฏิบัติทางการแพทย์ที่ดี และต้องไม่ขัดกับหลักทาง

                  ศาสนา มีสิทธิที่จะได้รับข้อมูล การศึกษา การให้ค�าปรึกษาด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมและ

                  เชื่อถือได้



                        สุขภาพของวัยรุ่นมีบัญญัติไว้ในหมวด ๒ มาตราที่ ๑๓๖ และ ๑๓๗ ระบุถึงความพยายามที่

                  จะท�าให้วัยรุ่นมีสุขภาพและอนามัยเจริญพันธุ์ที่ดี ควรได้รับข้อมูลข่าวสารและการบริการด้านสุขภาพ

                  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเรื่องศีลธรรม ค่านิยมทางศาสนา และเป็นไปตามบทบัญญัติตามกฎ

                  ระเบียบและข้อบังคับ โดยไม่มีรายละเอียดการบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เยาวชนจะได้รับ



                        จากการศึกษากฎหมายนี้พบว่า แม้ว่ากฎหมายจะระบุถึงสิทธิของบุคคลด้านการดูแลและ

                  ป้องกันสุขภาพ โดยเฉพาะด้านอนามัยเจริญพันธุ์ แต่จะครอบคลุมเฉพาะหญิงหรือชายที่แต่งงาน

                  แล้ว ไม่ได้ครอบคลุมถึงผู้หญิงหรือเยาวชนหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน ขณะเดียวกันการปฏิบัติต่างๆ ต้อง

                  ไม่ขัดกับคุณธรรมและหลักปฏิบัติทางศาสนา ซึ่งอาจท�าให้เยาวชนหญิงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิหรือใช้

                  สิทธิที่ตนพึงจะมีได้ตามกฎหมาย กฎหมายนี้ยังถือว่าการท�าแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ปรากฏอยู่ใน

                  มาตรา ๗๕ โดยมีข้อยกเว้นบนฐานของข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หากการ

                  ตั้งครรภ์นั้นอาจท�าอันตรายแก่มารดาและทารกในครรภ์ และการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืน

                  ซึ่งอาจส่งผลต่อบาดแผลทางจิตใจของผู้ถูกกระท�า อย่างไรก็ตามการท�าแท้งในมาตรา ๗๖ จะท�าได้








                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  59
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65