Page 55 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 55
การแสวงหาผลประโยชน์ หรือการเลือกปฏิบัติเนื่องจากการไร้ความสามารถด้านร่างกาย
และจิตใจหรืออยู่ในสภาวะไร้ความสามารถ”
l Child and Youth Welfare Code (1974)
เด็กและเยาวชนในกฎหมายนี้ หมายถึง บุคคลที่มีอายุต�่ากว่า ๒๑ ปี โดยสิทธิของเด็กและ
เยาวชนบัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ขณะเดียวกันมาตรา ๔ ระบุว่า เด็กและเยาวชนมีหน้าที่และความ
รับผิดชอบที่จะต้องเคารพและเชื่อฟังบิดามารดาและผู้ปกครอง
มาตรา ๖ บัญญัติเรื่องการท�าแท้งไว้ว่า ถือเป็นการกระท�าที่ผิดกฎหมายอาญา และกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ ปี ๑๙๘๗ หมวด ๑๒ ควรจะปกป้องชีวิตของมารดาและชีวิตของทารกที่ยังไม่ได้ก�าเนิด
ด้วย อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้มีการบัญญัติเรื่องการปลูกฝังศีลธรรมจรรยาให้กับเด็กที่บ้าน
โรงเรียนและที่โบสถ์ของพวกเขา เป็นที่น่าสังเกตว่า บิดามารดามีอ�านาจหน้าที่ตามกฎหมายร่วมกัน
เหนือบุตร แต่หากมีความไม่เห็นด้วยเกิดขึ้น ให้ยึดการตัดสินใจของบิดา เว้นเสียแต่ว่าจะมีค�าสั่งศาล
ไปในทางตรงกันข้าม
l Protection of Unborn Child Act of 2010
ตอนที่ ๒ ปฏิญญาของนโยบายระบุว่า “รัฐจะคุ้มครองชีวิตของแม่และทารกที่ยังไม่ได้ก�าเนิด
เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิอย่างเท่าเทียมกัน รัฐจะให้ความส�าคัญกับสิทธิในชีวิต ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้น
พื้นฐานมากกว่าสิทธิใดๆ และสิทธิด้านอื่นๆ จะเทียบเท่ามิได้” นอกจากนี้ใน ตอนที่ ๕ ยังได้บัญญัติ
ถึงสิทธิมนุษยชนของทารกที่ยังไม่ได้ก�าเนิดอีกด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า กฎหมายนี้มีบทบัญญัติใน
หมวดที่ ๓ เรื่องอื่นๆ ลักษณะที่ ๔ สวัสดิการเด็กและเยาวชนและของศาสนจักร มาตรา ๗๙ - ๘๓
บัญญัติถึงสิทธิของศาสนจักร ว่า “รัฐจะต้องเค�รพสิทธิของศ�สนจักรในเรื่องที่ส่งผลต่อศ�สน�
และก�รเลี้ยงดูบุตร รวมถึงเรื่องก�รเรียนก�รสอนด้�นศ�สน�ของเด็กในโรงเรียนซึ่งถือเป็น
สิ่งที่ต้องกระทำ�ต�มกฎหม�ย บิด�ม�รด�และผู้ปกครองสั่งสอนบุตรให้เอ�ใจใส่ต่อคำ�สอน
ของศ�สน�และทำ�หน้�ที่ของตนต�มศ�สน�ของพวกเข�”
54 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน