Page 39 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 39
๓. รัฐภาคีจะส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับ
การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อที่จะเกื้อกูลต่อการขจัดความเขลาและการไม่รู้หนังสือ
ทั่วโลก และเอื้ออ�านวยให้ได้รับความรู้ทางวิชาการและทางเทคนิคและวิธีการสอนสมัย
ใหม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ความต้องการของประเทศก�าลังพัฒนาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ”
(อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก, ๒๕๕๔)
l แผนปฏิบัติก�รประช�กรและก�รพัฒน�
แผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา พ.ศ. ๒๕๓๗ ไม่เพียงคุ้มครองสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
คุ้มครองผู้หญิงไม่ให้ถูกกระท�าความรุนแรง การกระท�าทางเพศในทางที่ผิด ส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อ
การเจริญพันธุ์ ยังมีผลต่อการคุ้มครอง สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิง การตัดสินใจต่อเนื้อตัว
ร่างกายตนเอง รวมไปถึงการตั้งครรภ์อย่างเต็มที่ ซึ่งตามหน้าที่รัฐจะต้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของ
ผู้หญิงอย่างสมบูรณ์ต่อการเข้าถึงการบริการที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ แม้แต่การยุติการ
ตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ในกรณีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ด้วยการก�าหนดแผนปฏิบัติการต่างๆ (Center for
Reproductive Rights, 2005, น. ๒๐) เช่น ในแผนปฏิบัติการฯ ย่อหน้า ๗.๓ ที่ว่าด้วยสิทธิอนามัย
เจริญพันธุ์ที่หมายรวมถึงสิทธิมนุษยชน ที่ยอมรับสิทธิพื้นฐานของคู่และปัจเจกที่จะตัดสินใจ
อย่างอิสระและรับผิดชอบในเรื่องจ�านวนบุตร เวลาที่จะมีบุตร และระยะห่างของการมีบุตรแต่ละคน
ซึ่งจะต้องได้รับทราบข้อมูล วิธีการ และสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ โดยไม่ถูกเลือก
ปฏิบัติ บังคับ หรือใช้ความรุนแรง และย่อหน้า ๗.๔๕ ที่บริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
ต้องคุ้มครองสิทธิของเยาวชนในเรื่องความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับ การเคารพและให้ข้อมูล
ที่รอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ (International Conference on Population and
Development, 2012)
l แผนปฏิบัติเพื่อคว�มก้�วหน้�ของสตรี
เช่นเดียวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม,
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ, อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก,
38 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน