Page 157 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 157
อย่างไรก็ตามหน่วยงานองค์กร เครือข่ายต่างๆ มุ่งเน้นที่จะด�าเนินการให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์
ต่อ คุ้มครองสิทธิต่างๆ มากกว่าสิทธิยุติการตั้งครรภ์ สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์
ที่จะยุติการตั้งครรภ์ยังไม่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนจากการวิจัยภาคสนาม ทั้งนี้เนื่องมาจากความเชื่อ
ศาสนาและมายาคติทางสังคม ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่น�าไปสู่การละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจหรือความปรารถนาดี เช่นเดียวกับความเชื่อมายาคติที่ว่า
เยาวชนหญิงควรรักษาความบริสุทธิ์และรักนวลสงวนตัว
๓.๘ แนวทางการคุ้มครองสิทธิเยาวชนหญิงตั้งครรภ์
โดยไม่พร้อมในประเทศไทยในมิติสิทธิมนุษยชน
การสนทนากลุ่มเยาวชนชายที่เป็นนักกิจกรรมของโรงเรียน และการสนทนากลุ่มแบบผสม
หญิงชายที่เป็นเพื่อนในกลุ่มเดียวกันพบว่า การสามารถมองเห็นคุณค่าในตนเอง การได้รับการยอมรับ
จากครูและเพื่อนๆ การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ และการมีเพื่อนที่ปรึกษาที่สามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง
เป็นปัจจัยส�าคัญที่เป็นเกราะป้องกันเยาวชนให้ก้าวข้ามสถานการณ์ตั้งครรภ์ในวัยเรียนได้ แม้ว่าจะอยู่ใน
โครงสร้างของครอบครัวที่เปราะบาง และอยู่ในโรงเรียนที่มีกฎระเบียบเคร่งครัดเหมือนโรงเรียนทั่วไป
ที่มีจ�านวนเด็กนักเรียนต่อจ�านวนครูที่ไม่สมดุลกัน สถานการณ์เด็กท้องและออกกลางคันปรากฏเป็น
ที่รับรู้และครูมีภารกิจมากมายจนไม่สามารถเอาใจใส่เด็กได้อย่างทั่วถึง จากข้อค้นพบนี้ ท�าให้นักวิจัย
เกิดแนวคิดคู่ขนานในการท�างานเรื่องนี้ว่า นอกจากการที่เราจะมุ่งจัดบริการเพื่อดูแลปัญหาเยาวชน
ที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมแล้ว สิ่งที่ต้องท�าควบคู่กันไปด้วยคือการเสริมพลังกลุ่มเยาวชนที่เกาะกลุ่มกัน
อยู่แล้วตามธรรมชาติให้แข็งแรงขึ้นด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่รอบด้าน ผ่านการท�ากลุ่มสนทนาเพื่อ
ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยท�าเป็นกลุ่มเซลล์ย่อยๆ หลากหลายกลุ่มในโรงเรียน เพื่อขยายผล
การสร้างความเข้าใจให้เข้าถึงปัญหาเฉพาะของเด็กแต่ละกลุ่มซึ่งมีระดับของความเข้มข้นของปัญหา
แตกต่างกัน และพัฒนากลุ่มเด็กๆ เหล่านี้ให้กลายเป็นผู้น�าการเปลี่ยนแปลงในการสร้างกระแสและ
สื่อสารกับเพื่อนๆ ที่มีความสนใจใกล้เคียงกันให้เกิดความอบอุ่นใจและเชื่อมั่นในอัตลักษณ์ของตนเอง
156 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน