Page 16 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 16

VI



                              (๖) เมื่อการด าเนินการเกี่ยวกับแผนที่ขอบเขตที่ดินเสร็จสิ้นแล้ว คณะท างานจัดท า

               แนวเขต และเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดชอบชี้แจงให้ข้อมูลกับประชาชนหรือสื่อสาธารณะ (ประชาสัมพันธ์)
               เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์


                       ๒. ควรมีการปรับปรุงจ าแนกการใช้ที่ดินกันใหม่ตามการเพิ่มขึ้นของประชากร วิถีชีวิต อาชีพ และ
               ความเป็นอยู่ของประชาชน และควรแก้ไขก าหนดแนวเขตใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงให้รวดเร็ว


                       ๓. ปรับปรุงกฎหมายทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วม และการกระจายอ านาจ

               ให้เป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เพื่อให้เห็นความสอดคล้องกันของขั้นตอนทั้ง ๓ ด้าน

                       ๔. ให้ออกกฎหมายให้ชัดเจนว่า การด าเนินการของรัฐในการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

               การมีส่วนร่วม และการกระจายอ านาจ หากไม่ด าเนินการถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ส าคัญก็คือ

               ให้บัญญัติไว้ด้วยว่า ผลการด าเนินการที่ไม่ได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ให้ถือว่ากิจกรรมนั้นไม่สมบูรณ์ไม่มีผล
               ในทางปฏิบัติ


                       ๕. ให้รัฐจัดตั้งส่วนราชการให้มีหน้าที่ในการจัดท ามาตรฐานระวางแผนที่และแผนที่รูปแปลงที่ดิน
               ของรัฐ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดท าแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเพื่อออกเป็น

               กฎหมาย และท างานแทนส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในส่วนของแผนที่แนบท้าย ส าหรับในเรื่อง

               การยกร่างข้อความและการตรวจสอบข้อความและรูปแบบของกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง ส านักงาน

               คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังคงมีอ านาจเช่นเดิม

                       ๖. รัฐควรตั้งส านักงานการมีส่วนร่วมขึ้น โดยให้เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม เพื่อดูแล

               กฎหมายฉบับนี้ และเป็นการส่งเสริม ก ากับและติดตาม ทั้งท างานวิชาการและปฏิบัติงาน

                       ๗. ควรแก้ไขกฎหมาย ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ประชาชนหรือชุมชนผู้ได้รับ

               ผลกระทบ มีอ านาจที่จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าชดเชยจากกรณีที่โดนละเมิดสิทธิได้

                       ๘. รัฐต้องก าหนดแผน และเป้าหมายกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ

               โดยก าหนดมาตรการ งบประมาณ และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนเพื่อก าหนดให้เป็นมาตรฐานอย่างเดียวกัน


                       ๙. เพื่อให้มีความรวดเร็วและเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ยากจนที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับสิทธิ
               ในที่ดินตามการประกาศพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ และท าให้ประชาชนที่อยู่อาศัยท าประโยชน์ในพื้นที่นั้น

               ไม่ถูกด าเนินคดีตามกฎหมาย ควรให้มีการด าเนินงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีความเสมอภาคโดยทั่วกัน ทั้งให้

               มีศาลพิจารณาพิพากษาตัดสินในประเด็นนี้เป็นการเฉพาะ และหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ถูก
               ด าเนินคดีต้องเข้าไปด าเนินการทันทีโดยมิต้องให้ประชาชนร้องขอ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21