Page 13 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 13
III
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้น าเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ต่อคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้เลือกกรณีค าร้อง จ านวน ๗ กรณีศึกษา โดยเน้นกรณีศึกษาในพื้นที่ ป่าไม้
จ านวน ๖ กรณี และที่ดินสงวนหวงห้ามกับที่ดินสาธารณประโยชน์ จ านวน ๑ กรณี สรุปได้ว่า
(๑) รัฐเป็นผู้ก าหนดเขตจ าแนกพื้นที่แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ค านึงถึงสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่า
ประชาชนท ากินมาก่อน ท าให้ประชาชนไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายก าหนด
(๒) ปัญหาข้อขัดแย้ง ยังไม่สามารถหาข้อยุติแนวเขตร่วมกันของหน่วยงานได้ ประชาชน
ถูกจับกุมด าเนินคดี และไม่สามารถท ากินได้ตามสิทธิที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย หน่วยงานของรัฐมิได้
เร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนผู้เดือดร้อน
(๓) มีการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงและมีการ
ก าหนดจุดพิกัดพื้นที่ผิดพลาด
(๔) การเพิ่มความเข้มข้นของกฎหมายที่กระทบสิทธิของประชาชน เป็นการละเมิดสิทธิของ
ประชาชนที่พึงมี
(๕) การมีส่วนร่วมของประชาชนมิได้เป็นที่ยอมรับและระบุไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อร่วมก าหนด
แนวเขตอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดจากการตื่นตัวและเรียกร้องของประชาชน
มากกว่า
(๖) การทับซ้อนในเรื่องแนวเขตและกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
(๗) ประชาชนจ านวนมากเสียสิทธิในการออกเอกสารสิทธิในที่ดินที่มีการประกาศที่หวงห้าม
ของรัฐ
โดยสามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา แนวทางในการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐได้ ๘ ประเด็น คือ
๑. การมีส่วนร่วมของประชาชน และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และ
การกระจายอ านาจ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีองค์กร
รับผิดขอบหลักที่มีหน้าที่ในการก าหนดหลักเกณฑ์ ประชาชนและส่วนราชการยังไม่เห็นความส าคัญ
ของการมีส่วนร่วม ขาดรูปแบบการมีส่วนร่วมที่แท้จริง โครงสร้างระบบราชการไม่เกื้อหนุนให้ประชาชน
สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม รัฐมิได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส าหรับความสัมพันธ์กัน
ระหว่างการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน กฎหมาย
ด้านการมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ ได้แยกหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ
ออกจากกัน แยกกันด าเนินการ ไม่เป็นเอกภาพที่จะให้เกิดการบูรณาการ ส่งผลถึงการให้ประชาชนเข้าไป
มีส่วนร่วมไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
๒. การทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของรัฐกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชน พบว่า การก าหนด
แนวเขตที่ดินของรัฐและมีการทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานภายในด้วยกัน มีการทับซ้อนกันระหว่าง