Page 14 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 14

IV



               หน่วยงาน ยังพบอีกว่า หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ด าเนินการก าหนดแนวเขต โดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

               จากการจัดท าแนวเขตไม่ทราบข้อมูลในพื้นที่จริงว่าขอบเขตพื้นที่ที่ก าหนดเป็นอย่างไร แม้ว่า
               พบข้อผิดพลาดแล้วก็ตาม แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้มีการแก้ไข ทั้งยังมีความล่าช้า และการ

               ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องปัญหาการทับซ้อนแนวเขตระหว่างหน่วยงาน

                       ๓. การพิจารณาออกกฎกระทรวง หรือพระราชกฤษฎีกา ก าหนดให้มีแผนที่แนบท้ายอันถือเป็น
               ส่วนหนึ่งของกฎหมาย พบว่า ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย

               แต่ไม่มีความรู้ในด้านแผนที่ ท าให้เกิดความล่าช้า เกิดความผิดพลาดในการจัดท าแผนที่แนบท้าย
               พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ก าหนดในรูปแผนที่


                       ๔.  การก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ  พบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ถูกก าหนด
               ขอบเขตเหล่านี้ เป็นผู้กระท าผิดตามกฎหมาย วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป กระทบสิทธิของประชาชน ละเมิดสิทธิ

               มนุษยชน และไม่มีหน่วยงานใดเข้ามารับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
                       ๕.  การจ าแนกที่ดิน และการก าหนดแนวเขตที่ดิน  พบว่า การจ าแนกที่ดิน และการก าหนด

               แนวเขตที่ดินเพื่อการพัฒนาประเทศและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมา ประกอบกับจ านวน
               ประชากรที่เพิ่มขึ้น มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอันหลากหลาย มีวิชาการใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน

               ท าให้การใช้เส้นที่แสดงลักษณะความสูงต่ าของพื้นที่เป็นตัวก าหนดแนวเขตที่ดินตามการจ าแนก เป็นการ
               ด าเนินการที่ล้าสมัย และไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงตามความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของ

               พื้นที่
                       ๖. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า รัฐไม่มีการสร้างความ

               เข้าใจกับประชาชน ให้ตระหนักถึงการเป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ าล าธารที่ต้องมีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน รักษาไว้
               ให้คงอยู่ สร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนเข้าใจในด้านการอนุรักษ์อย่างถูกวิธี และก าหนดวิธีการในการ

               อยู่กับพื้นที่ควรสงวนรักษาอย่างยิ่งนั้น แต่ในการด าเนินงานของหน่วยงานของรัฐที่ผ่านมา มีแต่ต้องการ
               อพยพโยกย้ายประชาชนแห่งท้องที่นั้นเพียงอย่างเดียว ไม่แก้ไขโดยวิธีอื่น ท าให้ขาดการมีส่วนร่วม

               ของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่มีผลกระทบกับระบบนิเวศ
                       ๗.  กระบวนการยุติธรรมกับการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ  พบว่า การก าหนดแนวเขตที่ดิน

               ของรัฐที่เกิดการทับซ้อนที่ดินของประชาชนและท าให้ประชาขนเหล่านั้นเป็นผู้ที่ผิดกฎหมาย ถูกจับกุม
               ด าเนินคดีตามที่กฎหมายก าหนด มีการเลือกปฏิบัติ มีการปล่อยปละละเลยต่อผู้กระท าความผิด มีการ

               ด าเนินการทางคดีกับผู้ด้อยโอกาสและยากจนมากกว่านายทุนหรือผู้มีอิทธิพล กระบวนการยุติธรรม
               ใช้ระยะเวลานาน ผู้ยากจนไม่มีเงินประกันตัวและต่อสู้คดี

                       ๘. ปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ พบว่า ผลจากการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ โดยที่
               มิได้ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วมในการด าเนินงาน ท าให้เกิดปัญหากระทบสิทธิ

               ของประชาชนในด้านที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัย มีข้อโต้แย้งอันเนื่องมาจากประชาชนไม่ทราบข้อมูลและ
               ข้อเท็จจริงของหน่วยงานของรัฐที่ก าหนด หน่วยงานของรัฐไม่ทราบถึงความไม่พอใจของประชาชนและ

               ไม่มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหา
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19