Page 12 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 12
II
ความขัดแย้งของหน่วยงานภาครัฐและประชาชน และน าไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในการแก้ไข
ปัญหาให้กับประชาชนและชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การด าเนินงานด้านการจัดท าแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐที่บัญญัติ
เป็นกฎหมาย ได้พบถึงความเป็นจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า รัฐซึ่งเป็นผู้ก าหนดในสิ่งต่างๆ ให้ประชาชน
ปฏิบัติ ได้ด าเนินการอย่างครบถ้วนในวิธีการที่ก าหนดแล้วหรือไม่ ได้มีการส ารวจตรวจสอบข้อเท็จจริง
ในพื้นที่นั้นอย่างครบถ้วน ให้ประชาชนที่ถือครองท าประโยชน์ในพื้นที่นั้นได้เข้ามาแสดงความเห็นหรือให้
มีส่วนร่วมในการก าหนดแนวเขตหรือไม่ การก าหนดแนวเขตของพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐได้ด าเนินการ
ตามนโยบายในการต้องการรักษาพื้นที่ของรัฐไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะและรักษาสภาพแวดล้อม
แต่ในการด าเนินงานยังต้องมีปัญหาที่ต้องแก้ไขให้บรรลุ ไม่ให้กระทบกับสิทธิในการถือครองที่ดิน
ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่แห่งนั้น ก่อนที่จะด าเนินการประกาศใช้เป็นกฎหมายบังคับ หรือต้องด าเนินการ
หาทางแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเสียก่อน ทั้งเมื่อด าเนินการไปแล้วยังต้องดูแลรักษาพื้นที่เหล่านั้น
เพื่อให้มีสภาพที่มั่นคงไม่เสียหายหรือเสื่อมสภาพไป
ดังนั้น ตามที่คณะผู้วิจัยได้ท าการศึกษาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน
ของหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการที่ดิน ที่มีการก าหนดขอบเขตโดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องที่ส าคัญในการก าหนดแนวเขตกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชนความส าคัญของการจัดท า
แนวเขต สภาพปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดท าแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้าม
ของรัฐ และกฎหมาย ระเบียบ และค าสั่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน
รวมไปถึงได้ปฏิบัติงานตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก าหนดเขตที่ดินของรัฐ รับฟังความคิดเห็น
ข้อเท็จจริงของประชาชนผู้เดือดร้อนในพื้นที่กรณีศึกษา ทั้งผลสรุปแบบสอบถาม สรุปผลได้ว่า
การก าหนดแนวเขตพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์หลักเป็นไปเพื่อให้รู้ขอบเขตส าหรับการแบ่งสันปันส่วน
ระหว่างกัน หน่วยงานของรัฐได้ก าหนดพื้นที่หวงห้ามในแต่ละหน่วยงานขึ้นตามรูปแบบต่างๆ ปัญหา
เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินจึงมีจ านวนเพิ่มมากขึ้น การแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว ต้องใช้ทั้งแนวเขตและสภาพ
ข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่มีการหวงห้ามเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา การประกาศก าหนดให้เป็นที่ดินของรัฐ
แบ่งแยกออกตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายของรัฐได้เป็น 2 ประเภท คือ เป็นพื้นที่ที่รัฐมีวัตถุประสงค์
ในการสงวนเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ ทั้งแก่รัฐและแก่ประชาชน และเป็นพื้นที่ที่รัฐ
มีวัตถุประสงค์ในการสงวนเพื่อการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยพบว่า มีปัญหากระทบกับสิทธิ
ในที่ดินของประชาชน ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาได้ ๓ ประการ คือ (๑) แนวเขตที่ก าหนดมีการทับซ้อนกัน
ระหว่างพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ (๒) แนวเขตที่ก าหนดมีความผิดพลาด ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งใน
สภาพปัญหานี้สามารถจ าแนกได้เป็น ๓ ปัญหาย่อย คือ การไม่ยอมรับ ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง และ
แนวเขตที่ก าหนดล้าสมัย และ (๓) ความล่าช้าในการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ