Page 150 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 150

๑๒๓



                                       การด าเนินการแก้ไขปัญหาของรัฐ

                                       การแก้ไขปัญหาในอ าเภอวังน้ าเขียว ปัจจุบันยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ แม้ว่า

                   รัฐบาลจะเคยมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี)
                   เห็นชอบมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินท ากินและการบุกรุกป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่

                   จังหวัดนครราชสีมา มีสาระส าคัญในการแก้ไขปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน คือ

                                       ๑) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมป่าไม้) เร่งรัดจัดท าร่างพระราชกฤษฎีกา

                   ปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานที่ได้ด าเนินการกันพื้นที่ไว้ ในอ าเภอวังน้ าเขียว อ าเภอเสิงสาง
                   และอ าเภอครบุรี รวม ๓๖,๖๐๗ ไร่ โดยให้น าร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน

                   ๓ เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในเรื่องนี้

                                       ๒) เมื่อพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน มีผลใช้บังคับ
                   ให้กรมป่าไม้เร่งส่งมอบพื้นที่ให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และให้ ส.ป.ก.เร่งรัด

                   ด าเนินการปฏิรูปที่ดินและออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวตามขั้นตอน
                   ปฏิบัติภายใน ๙ เดือน นับแต่วันที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ (รูปที่ 4.6)


                                       ผลมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้น าไปสู่การด าเนินการแก้ไขปัญหา กล่าวคือ ในปี
                   พ.ศ. ๒๕๔๑ อ าเภอวังน้ าเขียว และ จังหวัดนครราชสีมา ได้ด าเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการและ

                   แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินท ากิน โดยนายอ าเภอวังน้ าเขียว ในฐานะคณะท างานส ารวจรังวัดปรับปรุง
                   แนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้ร่วมกับผู้น าชุมชนและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ

                   ทับลาน ท าการส ารวจปรับปรุงแนวเขตอุทยานฯ ใหม่ โดยให้ขยับแนวเขตอุทยานออกไปไม่ให้ทับซ้อน
                   ที่อยู่อาศัยและที่ท ากินของประชาชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งประชาชนและส่วนราชการ

                                       ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ การปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้มีการรังวัด

                   แนวเขตที่ชัดเจน ซึ่งได้ด าเนินการในท้องที่อ าเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี (๓ ต าบล) ท้องที่อ าเภอ
                   วังน้ าเขียว ท้องที่อ าเภอปักธงชัย ท้องที่อ าเภอครบุรี และท้องที่อ าเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

                   สรุปตามรายงานและผลการรังวัดปรับปรุงเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ใน ๒ จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี
                   มีพื้นที่กันออก ๓๔,๓๑๘.๙๕ ไร่ พื้นที่ผนวก ๑๑,๐๒๗.๐๖ ไร่ และจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่กันออก

                   ๒๔๕,๘๐๐.๙๕ ไร่ พื้นที่ผนวก ๘๑,๙๔๔.๔๖ ไร่  แต่ถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. ๒๕๕๘) กรมอุทยานแห่งชาติ
                   สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังมิได้ด าเนินการปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานที่ประชาชนมีส่วนร่วมก าหนด

                   แนวเขตใหม่ ที่จัดท าขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เนื่องจากรัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน
                   พ.ศ. ๒๕๔๑ ยกเลิก มติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้า รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาแนวเขตอุทยาน

                   แห่งชาติทับลาน เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐

                                       ปัจจุบันส านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา ชี้แจงความคืบหน้า

                   กับคณะผู้วิจัยเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ว่า จังหวัดนครราชสีมาได้มีการตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด
                   และคณะกรรมการระดับอ าเภอแยกเป็น ๒ คณะ ได้แก่ คณะกรรมการพื้นที่ป่าเขาภูหลวง และ
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155