Page 146 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 146
๑๑๙
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากรัฐไม่ยอมรับสิทธิของประชาชน
ที่อยู่มาก่อนการประกาศป่าสงวนแห่งชาติ และข้อเท็จจริงที่ว่าปัญหาดังกล่าวสะสมมายาวนาน ความต้องการ
ใช้ที่ดินขยายเพิ่มขึ้นตามจ านวนประชากร ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนอยู่อาศัยและท ากินในพื้นที่ป่าไม้
เป็นจ านวนมาก การแก้ไขปัญหาจ าเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวระดับนโยบาย โดยการรับรองสิทธิ
และให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชน
(๑) ให้รัฐด าเนินการปรับปรุงและจัดท าแนวเขตใหม่ โดยให้ประชาชนในพื้นที่
มีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด าเนินการจ าแนกที่ดินในส่วนที่เป็นที่ดินท ากินและป่าไม้ พร้อมท า
แนวเขตในพื้นที่ให้ชัดเจนและน าที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์มาจัดสรรที่ดินตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม
(๒) ให้ต าบลยางหัก เป็นพื้นที่น าร่องเพื่อปรับปรุงและจัดท าแนวเขตที่ดินป่าสงวน
แห่งชาติใหม่ รวมถึงการวางแผนการจัดการที่ดินในรูปของคณะกรรมการระดับจังหวัด ที่มีองค์ประกอบ
ของประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานป่าไม้ และหน่วยงานด้านปกครอง
(๓) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้อง
กับการจ าแนกที่ดิน เพื่อปรับปรุงและจัดท าแนวเขตที่ดินของรัฐใหม่ เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้
ทุกฉบับที่มีอยู่ ไม่ยอมรับสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.๑.๓ กรณีปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนแนวเขตปฏิรูปที่ดิน
และข้อขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา
(๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่
ปัญหาข้อขัดแย้งแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนแนวเขตปฏิรูปที่ดิน และ
การใช้ประโยชน์ในที่ดินอ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อ
ประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติ โดยปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ประกาศทับซ้อนพื้นที่ชุมชน
และเขตปฏิรูปที่ดิน ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ าเขียว และป่าเขาภูหลวง
ให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และก าหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑
ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สมัยนั้น
เนื่องจากปัญหาการทับซ้อนแนวเขตดังกล่าว รัฐบาลจึงออกกฎกระทรวงเพิกถอน
ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง และป่าวังน้ าเขียว ในปี ๒๕๒๘ เพื่อน าพื้นที่ที่จะด าเนินการปฏิรูปที่ดิน
ออกจากป่าสงวนแห่งชาติ และมิให้อุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกัน
ในปัจจุบันการแก้ไขปัญหาในอ าเภอวังน้ าเขียว ไม่สามารถหาข้อยุติได้ แม้ว่า
รัฐบาลจะมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ต าแหน่งนายกรัฐมนตรี) เห็นชอบมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินท ากินและการบุกรุกป่าสงวน