Page 147 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 147
๑๒๐
แห่งชาติและอุทยานแห่งชาติในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขแนวเขตอุทยาน
แห่งชาติทับลาน ผลมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ได้น าไปสู่การด าเนินการแก้ไขปัญหา ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๕๔๑ อ าเภอและจังหวัด ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน และผู้น าชุมชน ส ารวจปรับปรุง
แนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานใหม่ โดยขยับแนวเขตไม่ให้ทับที่อยู่อาศัยและที่ดินท ากินของประชาชน
และท าการการรังวัดให้ได้แนวเขตที่ชัดเจน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นแนวเขตที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน
ของทุกฝ่ายทั้งประชาชนและส่วนราชการ
แต่ต่อมารัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ยกเลิก
มติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้า รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ท าให้
ปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนแนวเขตปฏิรูปที่ดิน ที่อยู่อาศัย และที่ดินท ากิน เป็นปัญหา
สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
นอกจากปัญหาการทับซ้อนแนวเขตดังกล่าวแล้ว ด้วยสภาพอากาศและระยะทาง
ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๔๕ เป็นต้นมา ท าให้พื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว มีบุคคลภายนอกเข้าไปซื้อที่ดินต่อจากเกษตรกร ก่อสร้าง
บ้านพัก และรีสอร์ทจ านวนมาก
(๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน
ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา
ความเป็นมาและสภาพปัญหา
อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ประมาณ ๗๐๖,๒๔๓ ไร่ เป็นพื้นที่
อุทยานแห่งชาติและพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ ๔๓๐,๐๐๐ ไร่ หรือประมาณ ๖๐% ของพื้นที่
ในอดีตที่ผ่านมา พื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียวเป็นเขตเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์ ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๑๐ - ๒๕๓๐ มีการให้สัมปทานท าไม้ในพื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว ท าให้สภาพป่าเสื่อมโทรม ประชาชน
ส่วนใหญ่จากหลายพื้นที่หลายจังหวัด ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ได้อพยพเข้ามา
จับจองพื้นที่ท าการเกษตรปลูกข้าวโพด และมันส าปะหลัง แต่ประสบปัญหาขาดทุนจึงขายที่ดินให้แก่
ผู้มีฐานะที่เข้ามาซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างบ้านพัก รวมทั้งลงทุนสร้างรีสอร์ทรองรับนักท่องเที่ยว ตามนโยบาย
ส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลและจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา
ปัญหาที่ดินในเขตอ าเภอวังน้ าเขียวมีความซับซ้อนมาก เนื่องจากหน่วยงานรัฐ
ได้ก าหนดให้เป็นที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ ทับซ้อนกันหลายประเภท ได้แก่ การประกาศป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าวังน้ าเขียว ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื้อที่ ๒๙๙,๗๒๒ ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาภูหลวง ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อที่
๗๓๖,๒๕๐ ไร่ และต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐) ประสานงานกรมป่าไม้น าพื้นที่ ๒๙ พื้นที่
(ป่า) มาด าเนินการปฏิรูปที่ดิน โดยในอ าเภอวังน้ าเขียว มีจ านวน ๒ พื้นที่ (ป่า) ได้แก่ ป่าวังน้ าเขียว ประมาณ