Page 152 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 152
๑๒๕
(๓) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหา
ทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายหรือกฎหมาย
การประชุมเพื่อรับฟังความเห็นในพื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จ านวน ๕๐ ราย ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองท้องถิ่น ทั้งผู้ใหญ่บ้าน
ก านัน นายกองค์การบริหารส่วนต าบลจาก ๔ ต าบล นายอ าเภอวังน้ าเขียว ผู้แทนส านักบริหารพื้นที่
อนุรักษ์ที่ ๗ นครราชสีมา ผู้แทนส านักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๘ นครราชสีมา และเจ้าหน้าที่จาก
ส านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมาผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความเห็นในปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ
ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ทั้งในส่วนของป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ การจ าแนกโซนเขตอนุรักษ์
(โซน C) และเขตปฏิรูปที่ดิน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมของ
ภาครัฐ
การเปลี่ยนแปลงในอ าเภอวังน้ าเขียวจากการประกอบเกษตรกรรมมาเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยว ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ โดยเฉพาะการวิจัยและส่งเสริมจากส านักงานการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม ประกอบกับความล้มเหลวของเกษตรกรซึ่งประสบกับปัญหาด้านหนี้สินจากการปลูกพืชไร่
เช่น มันส าปะหลังและข้าวโพด เป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการเปลี่ยนสิทธิการถือครองในที่ดินในพื้นที่
อ าเภอวังน้ าเขียว ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ในที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จ าเป็นที่หน่วยงานรัฐ
จะต้องน าข้อเท็จจริงมาพิจารณา ในการจัดจ าแนกโซนแนวเขตที่ดินของรัฐใหม่ รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ
ที่เป็นข้อจ ากัดในการจัดการที่ดิน เช่น การใช้ที่ดินในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน
มีปัญหาบางต าบลพื้นที่คาบเกี่ยวสองป่า สองจังหวัด เช่น ต าบลไทยสามัคคี ซึ่งมี
ที่ตั้งที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตป่าวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา และป่าไม้ได้ส่งมอบให้ส านักงานการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) น ามาปฏิรูปที่ดินแต่พื้นที่ท ากินอยู่ในเขตป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ จังหวัด
ปราจีนบุรี ซึ่งไม่มีการส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ท าให้ประชาชนต าบลไทยสามัคคีไม่ได้รับการจัดสรรที่ดิน
จาก ส.ป.ก. และยังมีปัญหาในเขตป่าวังน้ าเขียวทับซ้อนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ท าให้ประชาชน
ถูกจับกุมด าเนินคดี
ในเขตป่าเขาภูหลวง ที่มีการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติเพื่อน ามาปฏิรูปที่ดิน
แต่ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าว ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และพื้นที่โซน C ท าให้ไม่สามารถ
ให้สิทธิจากการปฏิรูปที่ดินได้ และต้องเพิกถอนสิทธิในบางแปลง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเหล่านี้เป็นปัญหา
ที่มีความซับซ้อนที่รัฐจะต้องค านึงถึงและน ามาพิจารณาในการแก้ไขปัญหา ต่อไป
นอกจากปัญหาทับซ้อนในเรื่องแนวเขตแล้ว ยังมีเงื่อนไขด้านประชากรที่เพิ่มขึ้น
ที่รัฐต้องปรับแนวคิดในการแก้กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ผู้เข้าร่วมประชุมจากอ าเภอวังน้ าเขียวเห็นว่า เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
มีความส าคัญที่สุด โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อน าไปสู่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง