Page 142 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 142

๑๑๕



                   การเหลียวแลจากหน่วยงานของรัฐอย่างจริงจัง ทั้งไม่สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นได้ เพราะ

                   ผิดกฎหมายอุทยานแห่งชาติ ทั้งที่เป็นผู้เสียสละที่อยู่อาศัยและที่ท ากินเพื่อสร้างความเจริญ หน่วยงานรัฐ
                   ควรเพิกถอนพื้นที่ก่อนอพยพประชาชนมาอยู่ แต่กลับอพยพประชาชนก่อนแล้วค่อยมาเพิกถอนการหวง

                   ห้ามภายหลัง และเมื่อมีการเพิกถอนแล้วมีการก าหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนพื้นที่จัดสรรรองรับ
                   การอพยพประชาชนจากพื้นที่น้ าท่วมและหมู่บ้านดั้งเดิม การที่หน่วยงานรัฐปล่อยปัญหาทิ้งไว้ไม่แก้ไขมา

                   ยาวนานหลายสิบปี ท าให้ความต้องการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของครัวเรือน ซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่ง
                   ที่หน่วยงานรัฐต้องด าเนินการแก้ไข

                                       ข้อคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชน


                                       (๑) ประชาชนไม่ได้รับทราบหรือเห็นว่ามีการปักป้ายแนวเขตของอุทยานแห่งชาติ
                   เขื่อนศรีนครินทร์ ในพื้นที่ และเข้าใจมาโดยตลอดว่าแนวเขตอุทยานแห่งชาติอยู่เส้นขอบอ่างเก็บน้ า ไม่ได้

                   ทับซ้อนกับพื้นที่เพิกถอนตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพที่ดินที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์
                   ในราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพประชาชนที่ถูกน้ าท่วมจากเขื่อนศรีนครินทร์

                                       (๒) การประกาศอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ไม่มีการแจ้งให้ประชาชน
                   ได้รับทราบ เพราะไม่มีการติดป้ายประกาศให้อ าเภอ ก านัน ผู้ใหญ่บ้านได้รับทราบ

                                       (๓) แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ที่ประกาศทับซ้อนกับพื้นที่เพิกถอน
                   ตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพที่ดินที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๙

                   ท าให้ประชาชนเสียสิทธิในการได้รับเอกสารสิทธิที่ดิน และทับซ้อนชุมชนดั้งเดิม เช่น ต าบลแม่กระบุง
                   ไม่ถูกกันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ

                                       (๔) ประชาชนยืนยันว่าแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์คลาดเคลื่อน
                   และเห็นว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติฯ ให้ตรงกับสภาพ

                   ภูมิประเทศจริง อันเป็นแนวทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอ าเภอศรีสวัสดิ์

                          4.๑.๒ กรณีแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนที่ดินท ากิน พื้นที่บ้านตากแดด

                                 ต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี


                                 (๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่

                                       บ้านตากแดดเป็นชุมชนชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม ก่อนประกาศป่าสงวนแห่งชาติปี พ.ศ.

                   ๒๕๒๗ จากหลักฐานการตั้งหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ และเอกสารแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑)

                   พื้นที่อยู่อาศัย ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาก าหนดที่ดินในท้องที่
                   ต าบลห้วยยางโทน อ าเภอท่าหลวง และต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
                   แม้ว่าบ้านตากแดดจะอยู่ในพื้นที่จ าแนกเป็นเขตป่าเศรษฐกิจ (โซน E) แต่กรมป่าไม้จ าแนกให้พื้นที่บ้านตากแดด

                   ต าบลยางหัก เป็นโซน E๑ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดชัน เพื่อกันพื้นที่ไว้ไม่ส่งมอบให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดิน

                   เพื่อเกษตรกรรมน าไปปฏิรูปที่ดิน ท าให้ชาวบ้านตากแดดไม่ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดิน ดังนั้น
                   การด าเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ต าบลยางหักมีลักษณะไม่ต่อเนื่องกัน ที่ดินส่วนใดที่ประชาชนท ากิน
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147