Page 143 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 143

๑๑๖



               ในพื้นที่ที่กรมป่าไม้ก าหนดให้เป็น โซน E๑ ก็กลายเป็นผู้กระท าผิดกฎหมาย บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

               ท าให้ประชาชนด ารงชีวิตด้วยความไม่มั่นคง

                              (๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน
               ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา


                                   ความเป็นมาและสภาพปัญหา

                                   บ้านตากแดดเป็นชุมชนเชื้อสายกะเหรี่ยง หมู่บ้านเก่าแก่ในต าบลยางหัก ปรากฏ
               หลักฐานการปกครอง ตั้งผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในหมู่บ้านมีเอกสารแบบแจ้งการ

               ครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เฉพาะบริเวณบ้านอยู่อาศัย ต่อมาพื้นที่ตั้งหมู่บ้านและที่ท ากิน
               ของชุมชนถูกประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ าภาชี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗  และต่อมาในปี พ.ศ.

               ๒๕๔๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตที่ดินในท้องที่ต าบลห้วยยางโทน อ าเภอท่าหลวง และต าบล
               ยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ได้ไปแจ้งการถือครอง

               ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินต่อเจ้าหน้าที่ส านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรี ในปี ๒๕๔๖ ประชาชน
               รับทราบจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ว่า ก าลังจะด าเนินการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ

               ไทยประจันทับซ้อนพื้นที่ตั้งชุมชนและที่ท ากินทั้งหมดที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (รูปที่ 4.3)

                                   จากกรณีดังกล่าว ประชาชนบ้านตากแดดได้ร้องเรียนไปยังจังหวัดราชบุรี

               ส านักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรี นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
               ให้หน่วยงานรัฐกันแนวเขตที่อยู่อาศัยและที่ท ากินให้ชัดเจนก่อนประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ

               ไทยประจัน และเพิกถอนแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ทับซ้อนที่อยู่อาศัยและที่ท ากินของประชาชน รวมถึง
               การออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ชุมชน และออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในพื้นที่ท ากิน โดยไม่ยอมรับแนวทางตาม

               โครงการสิทธิท ากินของกรมป่าไม้ เนื่องจากชุมชนอยู่มาก่อน แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติประกาศทับซ้อน
               ที่ชุมชนในภายหลัง

                                   จากการร้องเรียนของชาวบ้านตากแดด ท าให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ

               พันธุ์พืช กันพื้นที่ท ากินของประชาชนต าบลยางหักออกจากพื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติ
               ไทยประจัน แต่ยังคงมีสภาพพื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อย่างไรก็ดี แม้ว่าต าบลยางหักจะอยู่ในพื้นที่

               จ าแนกเป็นเขตป่าเศรษฐกิจ (โซน E) เข้าเงื่อนไขที่กรมป่าไม้สามารถส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับส านักงาน
               การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อน าไปปฏิรูปที่ดินให้กับประชาชนได้ แต่กรมป่าไม้ได้ก าหนดให้พื้นที่

               ต าบลยางหักเป็นโซน E๑  เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชัน จึงไม่ส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับส านักงาน
               การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ มีมติไม่มอบ

               พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปด าเนินการปฏิรูปที่ดินอีกต่อไป ท าให้
               กรณีพื้นที่บ้านตากแดดที่คาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินต้องยุติลง


                                   แม้จะปรากฏหลักฐานชัดเจนการอยู่อาศัยและถือครองท าประโยชน์ในที่ดิน
               ของชาวบ้านตากแดดมาก่อนการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ แต่สิทธิดังกล่าวกลับไม่ได้รับการยอมรับ
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148