Page 110 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 110
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพราะหากรอจนถึงชั้นการน�าเสนอ
กฎหมายที่ร่างเสร็จสมบูรณ์จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระทรวงต้นสังกัด อาจจะเป็นการด�าเนินการที่ล่าช้าเกินไป และถูกมอง
ว่าเป็นอุปสรรคมากกว่าเป็นการให้ข้อเสนอแนะเพื่อคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชน
เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายในช่วงต้นของการด�าเนินการ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ควรพัฒนาและรักษาการติดต่อกับผู้มีอ�านาจตัดสินใจและเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดท�าการออกกฎหมาย
กฎ ระเบียบ นโยบาย และกระบวนงานดังกล่าว การสร้างความสัมพันธ์ในการท�างานเหล่านี้ จะช่วยให้มั่นใจว่าสถาบันฯ เข้าใจ
ถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์ของความคิดริเริ่มนี้ตั้งแต่ตอนต้น และอยู่ในฐานะที่จะเสนอการเปลี่ยนแปลงได้ (หากจ�าเป็น)
6.3 แนวทางปฏิบัติงานด้านการเสนอนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติตามข้อตกลง
หรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
หลักการปารีสเรียกร้องให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผนวกบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศไว้ในกฎหมาย
ภายในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการผูกพันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทั้งสภานิติบัญญัติ ตุลาการ และผู้บริหารภาครัฐ) ด�าเนินการ
ให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานดังกล่าว
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องสนับสนุนให้ข้อผูกพันระหว่างประเทศได้ถูกด�าเนินการในระดับชาติ และท�าหน้าที่ใน
ฐานะ “นักวิจารณ์ที่เป็นมิตร” หรือ ผู้อ�านวยความสะดวกและผู้สนับสนุน แต่ไม่สามารถเป็นผู้น�าบรรทัดฐานเหล่านั้นมาใช้
ด้วยตนเอง
โดยทั่วไป สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การประสานด้านกฎหมาย การให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติ
ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติ สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
กับตราสารระหว่างประเทศ ที่รัฐยังไม่ได้เป็นภาคี
ที่รัฐเป็นภาคี
ส่งรายงานการด�าเนินการของ
การสนับสนุนให้มีการถอน รัฐต่อหน่วยงานระหว่างประเทศ
ข้อสงวน (reservation) สหประชาชาติ และหน่วยงานระดับ
ที่รัฐอาจมีการลงนามไว้
ภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง
109
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ