Page 74 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 74
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 73
ในส่วนของกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลมีความพยายามที่จะลดผลกระทบของปัญหา
อันเนื่องมาจากการประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น
การประกาศ “ระเบียบแนวทางปฏิบัติในการตรวจค้นเคหะสถานพื้นที่เป้าหมาย และการตรวจค้นตัว
บุคคลต้องสงสัย” เพื่อลดเหตุแห่งการถูกละเมิดสิทธิของประชาชนในกรณีการนำาตัวผู้ต้องสงสัยไป
ซักถามโดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ การกำาหนด “ขั้นตอนปฏิบัติเกี่ยวกับการรับตัวบุคคลต้องสงสัย
ในคดีความมั่นคง” และ “แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอเยี่ยมผู้ที่ถูกควบคุมตัวภายใต้กฎหมายความ
มั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทรมานผู้ถูกควบคุมตัว และสร้างความเชื่อมั่นให้
กับประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ รัฐยังได้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อยุติการใช้
กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำาหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไข
สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชื่อ “ทุ่งยางแดงโมเดล” ซึ่งเป็นการทำางานในเชิงบูรณาการ
เน้นให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา นำามาซึ่งชุมชนเข้มแข็ง ประชาชน
สามารถดูแลปกป้องตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ เพื่อลดบทบาทของเจ้าหน้าที่ทหารในการใช้
อำานาจตามกฎหมายพิเศษ การใช้กำาลังหรือการใช้อาวุธ รวมถึงการใช้กระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์
ในการเก็บรวบรวมสารพันธุกรรม (DNA) เพื่อใช้ในการออกหมายจับ ถือเป็นกระบวนการที่แม่นยำา ทำาให้
เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ กสม. จึงเห็นว่า
รัฐควรกำาชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามระเบียบหรือขั้นตอนที่กำาหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามแนวทาง
๒๔
ของ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า อนึ่ง กสม. เห็นว่า รัฐบาลควรเร่งการอนุวัติกฎหมายไทยตาม
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ
่
ที่ยำายีศักดิ์ศรี (CAT) ตลอดจนอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดย
ถูกบังคับ (CED) รวมถึงการจัดตั้ง กลไกอิสระในการตรวจเยี่ยมสถานที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(National Preventive Mechanism : NPM) เพื่อเตรียมการเข้าเป็นภาคีพิธีสารต่อท้ายอนุสัญญา
ต่อต้านการทรมานฯ และการเร่งเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ
หายสาบสูญโดยถูกบังคับ
๒๔ มีการดำาเนินการ ดังนี้ (๑) การเน้นยำากำาลังพลให้ปฏิบัติตามอำานาจ หน้าที่ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒) การ
้
ออกระเบียบการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย เป็นระเบียบปฏิบัติเดียวกันของทุกหน่วยซักถาม (๓) การจัดโครงการอบรมเกี่ยวกับหลัก
สิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง ระดับหน่วยเฉพาะกิจ โดยได้รับการอบรมจากกรมคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อให้รู้ถึงหลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เพื่อมิให้เกิดการละเมิด
(๔) การกำาชับให้ทุกหน่วยควบคุมตัว ต้องทำาบันทึกหลักฐานการควบคุมตัว ตั้งแต่เริ่มนำาผู้ต้องสงสัยออกจากพื้นที่ โดยมีการลงนาม
เป็นบันทึกหลักฐานกับญาติ ผู้นำาท้องถิ่นเป็นพยานรับรู้ รับทราบ พร้อมทั้งแจ้งสาเหตุ และสถานที่ในการควบคุมตัวเพื่อให้ญาติ
คลายความกังวลใจ (๕) การตรวจร่างกายจากแพทย์ และจัดทำาบันทึกการตรวจร่างกายไว้ทุกขั้นตอน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยัน
ก่อนส่งตัวออกไปยังหน่วยซักถาม (๖) การกำาหนดให้มีระเบียบการเยี่ยมญาติที่ทำาได้ทุกวัน และปฏิบัติเหมือนกันในทุกหน่วย
(๗) การติดตั้งกล้องวงจรปิด บันทึกสภาพความเป็นอยู่ และการซักถามในแต่ละครั้ง เพื่อประกอบเป็นหลักฐานหากมีการ
ร้องทุกข์/ร้องเรียน และ (๘) การกำาหนดมาตรการลงโทษอย่างหนักแก่กำาลังพลที่ประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม จนก่อให้เกิด
ปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้ถูกควบคุมตัว