Page 73 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 73

72 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                                                                    ่
                    หารือรับทราบข้อมูล  สรุปว่า ไม่มีเด็กและเยาวชนที่อายุตำากว่า ๑๘ ปี เข้าร่วมเป็น ชรบ. แต่อย่างใด
                    ดังนั้น ข้อมูลจากผลการวิจัยดังกล่าวน่าจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่กรณีที่พบว่ามีเด็กเข้าไป
                    อยู่ใน ชรบ.  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องภายในครอบครัว เช่น บิดา หรือญาติพี่น้องเป็น ชรบ. เด็กก็อาจจะติดตาม

                    ไปอยู่กับบิดาหรือญาติพี่น้องนั้น ๆ ในขณะปฏิบัติหน้าที่  ซึ่งมิได้เกิดขึ้นเป็นประจำาหรือกรณีข้อมูล
                    เกี่ยวกับเด็กที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอาวุธ หรือมีการฝึกอาวุธนั้นเป็นเรื่องที่ครอบครัวให้เด็กได้เรียนรู้

                    การใช้อาวุธ เพื่อป้องกันชีวิตตนเอง หรือการคุ้มครองบุคคลในครอบครัวในกรณีที่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในบ้าน
                    ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์เด็ก ในปี ๒๕๕๗ ยังไม่พบเด็กเข้าไปเกี่ยวข้องกับการฝึกใช้อาวุธแต่อย่างใด






                         ๓)  การประเมินสถานการณ์

                              ในปี ๒๕๕๗  กสม. เห็นว่า หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาตรการ

                    ที่จะลดและป้องกันความรุนแรงในพื้นที่  โดยการจัดชุดลาดตระเวนเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับ
                    พระสงฆ์และครู  การสร้างความเข้าใจผ่านกระบวนการมวลชนสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำารวจในพื้นที่

                    เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ สร้างทัศนคติที่ดีระหว่างประชาชน
                    กับเจ้าหน้าที่รัฐ การปฏิบัติตามโครงการเยี่ยมเยียนและพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้นำาศาสนา ผู้นำาท้องถิ่น

                    ตลอดจนผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงที่กลับสู่ภูมิลำาเนาและครอบครัว  นอกจากนี้ รัฐยังได้กำาหนดแนวทาง
                    กระบวนการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับกลุ่มที่มีอิทธิพลในการก่อเหตุความรุนแรง

                    เพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา  และในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ คสช. ได้จัดตั้งคณะ
                    กรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การดำาเนินการตามนโยบายในการแก้ไข

                    ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นผลเป็นรูปธรรม
                              ทั้งนี้ จากการปฏิบัติงานของ กสม. ในพื้นที่ก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานความมั่นคง

                    ทั้งในระดับยุทธศาสตร์และหน่วยงานระดับปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น กองอำานวยการ
                    รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค ๔ ส่วนหน้า ศูนย์ปฏิบัติการตำารวจจังหวัดชายแดน

                    ภาคใต้ (ศชต.)  และ ศอ.บต. ฯลฯ  ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น
                    เช่น การอนุญาตให้ญาติผู้ต้องสงสัย หรือผู้ถูกจับกุม รวมทั้ง เจ้าหน้าที่สำานักงาน กสม. ที่ได้รับมอบหมาย

                    และพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานที่ กสม. แต่งตั้งให้ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน
                    ในพื้นที่สามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวในแต่ละหน่วยได้ตั้งแต่วันแรกที่ถูกควบคุมตัวหรือ

                    การให้ กสม. เข้าไปมีส่วนร่วมในการค้นหาข้อเท็จจริงในคณะกรรมการตรวจสอบกรณีเหตุการณ์
                    เจ้าหน้าที่สนธิกำาลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านโต๊ะชูด หมู่ที่ ๖ ตำาบลพิเทน อำาเภอทุ่งยางแดง จังหวัด

                    ปัตตานี เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำานวน ๔ ราย
                    เป็นต้น  เพื่อสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบการกระทำาที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ ยิ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจ

                    ให้กับประชาชนในพื้นที่
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78