Page 72 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 72

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 71











                                      ๒.๒.๓)  ผลกระทบจากความล่าช้า ความแตกต่าง และข้อจำากัดของกฎ ระเบียบ

                                             และข้อปฏิบัติซึ่งส่งผลกระทบต่อการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย

                                             จากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในปี ๒๕๕๗  กสม. ยังคงได้รับเรื่องร้องเรียนว่า
                       กระบวนการพิจารณาเยียวยาต่อผู้เสียหาย มีความล่าช้า ไม่สามารถเข้าถึงได้ และยังมีความไม่เป็นธรรม

                       ทั้งส่วนของประชาชนและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ  นอกจากนั้น ยังมีข้อจำากัดของกฎ ระเบียบ และข้อปฏิบัติ
                       เกี่ยวกับการจ่ายเงินทดแทนการประกันชีวิต จำานวน ๖๑๔ ล้านบาท ย้อนหลังให้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่

                       เสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่จนต้องออกราชการ จำานวน ๑,๒๔๖ ราย ในช่วงตั้งแต่
                       วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นช่วงก่อนวันที่ประกาศใช้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข

                       และวิธีการจ่ายเงินทดแทนการประกันชีวิต ตาม “ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำาเหน็จความชอบ
                       สำาหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๐”  โดย กสม. ได้ดำาเนินการจัดทำา

                       ข้อเสนอแนะไปยังศูนย์อำานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งได้มีการดำาเนินการพิจารณา
                       ให้การเยียวยาผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อไปแล้ว

                                      ๒.๒.๔)  ผลกระทบด้านสิทธิของผู้ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติ

                                             สืบเนื่องจากมีชาวโรฮิงญา และชาวอุยกูร์หลบหนีเข้าเมืองมาอย่างต่อเนื่อง

                       เป็นจำานวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศตามแนวชายแดนและเข้ามาพักพิงในจังหวัด
                       ชายแดนภาคใต้  ทำาให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา โดยมีหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมหลาย

                       หน่วยเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือและคุ้มครอง  จนในปี ๒๕๕๗ ที่มีผู้ร้องเรียนต่อ กสม.
                       เพื่อขอให้ช่วยเหลือและประสานงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่

                       โดยการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมบุคคลต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ๓ แห่งใน
                       จังหวัดสงขลา และประชุมหารือแนวทางแก้ปัญหาและดูแลบุคคลกลุ่มดังกล่าวตามหลักสิทธิมนุษยชน

                       พร้อมกับการจัดตั้งคณะกรรมการประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองตามคำาสั่ง
                       ศูนย์อำานวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ที่ ๑๘๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗

                                      ๒.๒.๕)  สถานการณ์สิทธิเด็ก

                                             เมื่อปี ๒๕๕๔  กสม. ได้รับทราบผลการวิจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ

                       เด็กและเยาวชนในภาวะความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการนำาเด็กเข้าร่วมในชุดรักษา
                       ความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)  แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุม
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77