Page 20 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 20

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีหน้าที่จัดทำารายงานการประเมินสถานการณ์
                       สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ  ตามอำานาจหน้าที่ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๘) ซึ่งกำาหนดให้ กสม. จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์
                       ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                       แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๖) กำาหนดให้ กสม. จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์
                       ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน

                       เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่
                       ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๕/๒๕๕๗ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลงชั่วคราว เว้นหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ และให้องค์กรอิสระและองค์กรอื่น
                       ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  และประกาศ คสช.

                       ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้น หมวด ๒
                       และให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคง

                       ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  ดังนั้น การจัดทำารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำาปี ๒๕๕๗
                       จึงยังเป็นอำานาจหน้าที่ของ กสม. โดยนัยตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น  วัตถุประสงค์สำาคัญของ

                       การจัดทำารายงาน คือ เพื่อส่งเสริมให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
                       ในประเทศว่า  ในแต่ละปีมีเหตุการณ์ที่สำาคัญใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนที่ได้รับ

                       การรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ  กฎหมายภายในอื่น ๆ ตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย
                       เป็นภาคีมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และคำามั่นสัญญาต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ต่อประชาคม

                       ระหว่างประเทศ ทั้งในด้านที่เป็นความก้าวหน้าและความถดถอย
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25