Page 248 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 248
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 247
ในปี ๒๕๕๗ ได้มีการจัดการสัมมนาขับเคลื่อนผลงานการศึกษา
วิจัยสู่สังคม โดยการจัดสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อการ
เผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในสังคมวงกว้าง
และเสริมสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะร่วมกันผลักดัน
ให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เป็นรูปธรรม ทั้งใน
เชิงนโยบายและในระดับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยดำาเนินการ
สัมมนา จำานวน ๒ เรื่อง คือ
๑) การสัมมนาขับเคลื่อนผลงานการศึกษาวิจัยสู่สังคม เรื่อง “สิทธิชุมชน และ
ผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต้” การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
ณ โรงแรมรามาการ์เดนท์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมการสัมมนารวมทั้งสิ้น ๑๑๐ คน
โดยมีการนำาเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย และมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการอภิปรายในหัวข้อ
“แผนพัฒนาภาคใต้กับการคุ้มครองสิทธิชุมชน” ได้แก่ ดร.เติมทรัพย์ เตละกุล ผู้อำานวยการส่วนชายแดน ๑
สำานักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำานวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ดร.เลิศชาย ศิริชัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์
ทะเลไทย โดยมีสาระสำาคัญจากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา สรุปได้ดังนี้
(๑) การกำาหนดแผนการพัฒนาต่าง ๆ ของภาครัฐ ควรพิจารณาจากพื้นฐานของ
ทรัพยากรในพื้นที่ และสิทธิชุมชน กล่าวคือ ควรคำานึงถึงความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติด้วย
(๒) โครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นควรให้ความสำาคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ตั้งแต่เริ่มโครงการ ร่วมกันทำาความเข้าใจ
ศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สะท้อนข้อมูลไปยังหน่วยงานที่ดำาเนินการ ร่วมกันประเมินว่าโครงการดังกล่าว
ควรจะสร้างหรือไม่ หากมีผลกระทบจากการดำาเนินโครงการจะมีผู้ใด/หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
รวมทั้งต้องมีการติดตามประเมินผลการดำาเนินโครงการเป็นระยะด้วย
(๓) หน่วยงานที่รับผิดชอบดำาเนินโครงการ ต้องเปิดเผยข้อมูลของโครงการต่อสาธารณะ
ทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยไม่มีการปิดบังหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง และมีช่องทางในการสื่อสาร/แลกเปลี่ยน
ข้อมูลแก่ประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่