Page 247 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 247
246 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
การตกอยู่ในฐานะคนไร้รัฐไร้สัญชาติ นอกจากถูกจำากัดสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำาเป็นสำาหรับการ
ดำารงชีพแล้ว ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ได้รับความเป็นธรรม และถูกละเมิดสิทธิในกระบวนการ
แก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาสิทธิและสถานะบุคคล ทั้งยังถูกกีดกันออกจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการ
แก้ไขปัญหาและกำาหนดทิศทางในการพัฒนาตนเอง และการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิและสถานะบุคคลตาม
ระเบียบกฎหมายเป็นไปด้วยความล่าช้า ในเวลาเดียวกันการรับรู้ปัญหาและตัวตนที่แท้จริงเกี่ยวกับปัญหา
ที่กล่าวข้างต้นของคนในสังคมยังมีน้อยมาก แม้ว่ารัฐไทยเองจะมีความพยายามแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
คนไร้รัฐไร้สัญชาติ แต่ยังพบว่า มีข้อปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมาก เช่น การกำาหนดนโยบาย
และการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิทธิและสถานะบุคคลที่ยังคงรวมศูนย์อยู่ที่ภาครัฐ โดยที่ประชาชน
ผู้ที่เกี่ยวข้อง และคนไร้รัฐไร้สัญชาติเจ้าของปัญหามักถูกกันออกจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการ
จัดทำายุทธศาสตร์ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสถานะและสิทธิของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ภาครัฐไม่เป็นผลดีสำาหรับการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
สำานักงาน กสม. จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีดำาเนินการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว
ขณะนี้ เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ดังนี้
(๑) เพื่อศึกษารวบรวมสถานการณ์และประเด็นปัญหาด้านสิทธิและสถานะบุคคลในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
(๒) เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกันของผู้ประสบปัญหา
ด้านสิทธิและสถานะบุคคลและผู้ที่เกี่ยวข้อง
(๓) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านสิทธิและสถานะบุคคลในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
ทั้งนี้ การวิจัยมุ่งที่จะรวบรวมสถานการณ์และสภาพปัญหาของผู้ประสบปัญหาด้านสิทธิ
และสถานะบุคคล ในบริบททางด้านวัฒนธรรมของคนชนชาติเดียวกันที่ถูกแบ่งแยกด้วยเขตแดนของรัฐชาติ
(นั่นคือ คนชนชาติลาวจากประเทศลาวที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ของคนชนชาติลาวในประเทศไทย) พร้อมกับ
มุมมองต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหมายว่า กระบวนการวิจัยแบบ
ชาวบ้านจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มเป้าหมาย และเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อน
ปัญหาที่สามารถนำาไปใช้ในการกำาหนดแนวทางการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ที่เหมาะสมในอนาคตอันใกล้