Page 249 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 249

248  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                                ๒)  การสัมมนาขับเคลื่อนผลงานการศึกษาวิจัยสู่สังคม เรื่อง “การเลือกปฏิบัติใน

                    การประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี” การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
                    ณ ห้องเสวนา ชั้น ๖ สำานักงาน กสม. มีผู้เข้าร่วมการสัมมนารวมทั้งสิ้น ๘๐ คน โดยมีการนำาเสนอ

                    องค์ความรู้ที่ได้จากผลการศึกษาวิจัย และมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการอภิปรายในหัวข้อ “การเลือกปฏิบัติ
                    ในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี...จะขจัดได้อย่างไร” ได้แก่ นางสุนี  ไชยรส กรรมการ

                    ปฏิรูปกฎหมาย  นางกาญจนา เทวะศิลชัยกุล ผู้อำานวยการกองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและ
                    คุ้มครองแรงงาน  นายจุมพล จักรรัตน์พาหุ กรรมการบริหาร สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

                    นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำานวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  และนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว
                    ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย  โดยมีสาระสำาคัญจากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น

                    จากผู้เข้าร่วมสัมมนา สรุปได้ ดังนี้
                                  (๑)  สาเหตุของการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีมาจากการขาดความรู้

                    ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความกลัวโดยปราศจากเหตุผล และมีทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อในเชิงลบ ดังนั้น
                    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจง ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน และ

                        ้
                    เน้นยำาถึงความสำาคัญและความจำาเป็นในการให้โอกาสกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือกลุ่มบุคคลอื่น
                    ที่ถูกเลือกปฏิบัติอื่น ๆ ให้มีโอกาสในการประกอบอาชีพ และดำารงชีวิตต่าง ๆ ได้ตามปกติ นอกจากนี้

                    ยังควรให้ความสำาคัญในการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่กลุ่มเด็กและเยาวชนด้วย
                                  (๒)  การแก้ไขปัญหาเรื่องเอดส์เป็นเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิตไม่ใช่เรื่อง

                    สาธารณสุขเท่านั้น  ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจะได้ผลดีควรให้หน่วยงานต่าง ๆ บูรณาการการทำางาน
                    ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน หรือแม้กระทั่งกลุ่มจิตอาสาต่าง ๆ

                    ไม่ควรถือว่าเป็นภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
                                  (๓)  ควรมีการเสนอให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงกฎหมาย ให้คุ้มครองผู้ติดเชื้อเอชไอวี

                    มากยิ่งขึ้น โดยควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องจากประเทศอื่น ๆ ประกอบ
                                  (๔)  หน่วยงานของรัฐต้องเป็นแบบอย่างในการยกเลิกกฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ

                    อื่นใดที่จะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นตัวอย่างต่อหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254