Page 147 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 147
146 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๗๗
และกลุ่มอาศัยในป่า และในกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวเป็นกลุ่มบุคคลผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคลเป็น
๗๘
จำานวนมาก นอกจากกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาประกอบ
อาชีพในประเทศไทยก็มีปัญหาด้านสถานะบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มที่อพยพเข้าเมืองมาโดยไม่ถูกต้องตาม
กฎหมาย ไม่มีเอกสารแสดงตนส่งผลต่อการตรวจสอบ ติดตาม การให้บริการและการเฝ้าระวังด้านต่าง ๆ
อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้ย้ายถิ่นที่เข้ามาด้วยสาเหตุความไม่สงบในถิ่นเดิมจากต่างประเทศ เช่น กลุ่มโรฮิงญา
กลุ่มอุยกูร์ เป็นต้น
ด้านสถานะบุคคล ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในหลายด้าน ในปี ๒๕๕๑ ได้มีการ
ปรับปรุงกฎหมายสำาคัญ ๒ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติ
ทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๘ เรื่องการจดทะเบียนเกิด โดยหน่วยงานของรัฐที่มีอำานาจหน้าที่
รับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้มีการดำาเนินการต่าง ๆ เพื่อ
สร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขเยียวยาปัญหาเกี่ยวกับสถานะบุคคลในหลายมิติ เช่น
การจัดทำาทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน การซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
เรื่องสัญชาติและสถานะบุคคล การรับแจ้งการเกิดและการจัดทำาทะเบียนประวัติ การจัดทำาบัตรประจำาตัว
คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย การแจ้งย้ายที่อยู่ของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เป็นต้น ซึ่งกรมการปกครอง
ได้ดำาเนินการออกหนังสือเวียนให้นายทะเบียนจังหวัดทุกจังหวัดและนายทะเบียนกรุงเทพมหานคร
ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่การดำาเนินงานด้านสถานะบุคคล พบว่า มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ กสม.
ทั้งจากกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ในประเด็นเรื่องสิทธิในการศึกษา สิทธิ
ในการรักษาพยาบาล สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวและสิทธิพลเมือง (การได้รับสัญชาติไทย) เป็นต้น
ด้านการจัดตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพ และการดำารงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรม
ของกลุ่ม สภาพปัญหาที่พบทั่วไป คือ หน่วยงานรัฐยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่ม
ชาติพันธุ์โดยเฉพาะการพึ่งพิงธรรมชาติและป่า และมักพบว่า นโยบายของรัฐด้านการท่องเที่ยว และ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มักจะดำาเนินการโดยไม่คำานึงถึงสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
ในการตั้งถิ่นฐานและสิทธิการทำากินตามวิถีวัฒนธรรม อีกทั้ง ความไม่สอดคล้องกับการตั้งถิ่นฐานของ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่เดิมก่อนการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์
ด้านการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำารงชีวิตตามมาตรฐานที่เหมาะสม
โดยลักษณะภูมิประเทศในการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร
ในขณะที่รัฐยังไม่สามารถกระจายการพัฒนาได้อย่างทั่วถึง ทำาให้ในหลายพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ
และสวัสดิการต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์
๗๗ กลุ่มอาศัยในป่า ได้แก่ กลุ่มมานิ และกลุ่มมลาบรี
๗๘ แผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์