Page 146 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 146
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 145
เพื่อแพร่ขยายเจตนารมณ์ และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ
ทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และอนุสัญญานี้
๑.๓) ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
ข้อ ๒๓ เสริมสร้างแนวคิดของการยอมรับความหลากหลายทางสังคมและ
ชาติพันธุ์ในสังคมไทยและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานต่อไป
ข้อ ๒๕ แก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อเด็กและวัยรุ่นที่เป็นชนกลุ่มน้อย หรือ
ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ
ข้อ ๘๗ ดำาเนินการต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และ
ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของคนยากจนและคนชายขอบ
๒) สถานการณ์
๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป
บุคคลที่เกิดมาเป็นมนุษย์และอยู่ร่วมในสังคม ล้วนต้องการมีสถานะทางกฎหมาย
(Legal Status) ทั้งสิ้น โดยในประเทศไทย ระบุสถานะบุคคลจะใช้รหัสประจำาตัวเป็นเลข ๑๓ หลัก บ่งชี้ว่า
เป็นใคร มาจากไหน และมีสถานะใดในฐานะที่เป็นคนของรัฐไทย ถ้ามีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะได้
สัญชาติไทย ซึ่งจะส่งผลต่อสิทธิต่าง ๆ ที่รัฐจะจัดให้ เช่น สิทธิทางการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล
สิทธิทางการเมือง เป็นต้น
ปัญหาด้านสถานะบุคคลที่พบโดยทั่วไป คือ การที่บุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
แล้วไม่มีสถานะบุคคล ตัวอย่างเช่นกลุ่มชาติพันธุ์ คือ กลุ่มชนที่มีความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์กับ
สังคมไทยมาตั้งแต่อดีตมากกว่าร้อยปีมีความแตกต่างจากกลุ่มชนอื่น ๆ และมีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง
โดยอาศัยตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ใน ๖๗ จังหวัด จำานวน ๕๖ กลุ่ม มีประชากรรวมประมาณ
๖,๑๐๐,๐๐๐ คน หรือร้อยละ ๙.๖๘ ของประชากรประเทศ จำาแนกพื้นที่ตามลักษณะการตั้งถิ่นฐานได้ ๔
๗๕
๗๔
๗๖
ลักษณะ คือ กลุ่มตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูงหรือชนชาวเขา กลุ่มตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ราบ กลุ่มชาวเล
๗๔ กลุ่มชาวไทยภูเขา ๙ เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง หรือแม้ว เมี่ยน หรือเย้า อาข่า หรืออีก้อ ลาหู่ หรือมูเซอ ลีซูหรือลีซอ ลัวะหรือ
ถิ่น ขมุ และมลาบรีหรือคนตองเหลือง ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย
๗๕ กลุ่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบ จำานวน ๓๘ กลุ่ม ได้แก่ มอญ ไทยลื้อ ไทยทรงดำา ไทยใหญ่ไทยเขิน ไทยยอง ไทยหญ่า
ไทยยวน ภูไท ลาวครั่ง ลาวแง้ว ลาวกา ลาวตี้ ลาวเวียง แสก เซเร ปรัง บรู (โซ่) โซ่ง โซทะวิง อึมปีก๋อง กุลา ซอุโอจ (ชุอุ้ง) กูย (ส่วย)
ญัฮกรู (ชาวบน) ญ้อ โย้ย เขมรถิ่นไทย เวียดนาม (ญวน) เญอหมี่ซอ (บีซู) ชอง กระชอง มลายูกะเลิง และลาวโซ่ง (ไทยดำา)
๗๖ กลุ่มชาวเล ได้แก่ กลุ่มมอแกน มอแกร็น และอูรักลาโว้ย