Page 149 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 149

148  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                                  การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ในการดำารงชีวิตตามมาตรฐานที่เหมาะสม

                                  กสม. พบว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๑
                    จะให้สิทธิแต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของกลุ่มบุคคลที่ไม่มี

                    สถานะทางทะเบียน  กรณีที่มีการจำากัดสถานพยาบาลในการรับบริการของบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน
                    (บุคคลหมายเลข ๐) ตาม “กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหา

                    ด้านสถานะและสิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓” ซึ่งกำาหนดสถานพยาบาลที่บุคคล
                    ประเภทนี้จะเข้ารักษาพยาบาลได้ โดยต้องเป็นสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามภูมิลำาเนา

                    ในทะเบียนราษฎรที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่เท่านั้น ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในพื้นที่อื่นได้




                         ๓)  การประเมินสถานการณ์
                              จากการดำาเนินการของ กสม. ในปี ๒๕๕๗ ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ การรับฟัง

                    ข้อมูลทั้งจากหน่วยงานที่ถูกร้องเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการจัดเวทีเสวนาวิชาการเพื่อ
                    สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ  อีกทั้งได้มีข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการ

                    สภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสถานะไม่ชัดเจน
                    ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลฯ  กสม. พบว่า แม้รัฐบาลจะมีการ

                    ดำาเนินการที่ก้าวหน้าในหลายประการ  รวมถึงการกำาหนดแผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ใน
                    ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งถือเป็น

                    พัฒนาการที่สำาคัญ   อย่างไรก็ดี กสม. ยังมีความกังวลต่อนโยบายบางประการที่ไม่สอดคล้องหลักการ
                    สิทธิมนุษยชน เช่น คำาสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗  ตลอดจนแผนแม่บทแก้ไขปัญหา

                    การทำาลายทรัพยากรป่าไม้การบุกรุกที่ดินของรัฐ  และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
                    และปัญหาในทางปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามนโยบายและกฎหมาย มีความล่าช้า หรือไม่นำาไปปฏิบัติ นอกจากนี้

                    รัฐยังต้องเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนการยอมรับ
                    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทย



                              ในการรับรองสถานะบุคคลของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

                              กสม. มีความเห็น ดังนี้
                              F  ปัญหาบุคคลที่มีสถานะไม่ชัดเจนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิ

                                 ของบุคคลฯ ซึ่งมีจำานวนนับแสนคนยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเต็มที่เพราะนโยบายและ
                                 การปฏิบัติของภาครัฐยังไม่ครอบคลุมและไม่ชัดเจน  รวมทั้ง ปัญหาของกลุ่มบุคคลที่ไม่มี

                                 เอกสารแสดงตนใด ๆ ที่ส่งผลให้ไม่สามารถกำาหนดสถานะทางทะเบียนได้
                              F  เนื่องจากมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ขาดความชัดเจน เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154