Page 148 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 148
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 147
๒.๒) สถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการดำาเนินการของ กสม.
ในการดำาเนินงานของ กสม. พบว่า กลุ่มสถานะบุคคลยังมีปัญหาในหลายกรณี ดังนี้
การรับรองสถานะบุคคล
กสม. พบว่า มีปัญหาด้วยเหตุต่าง ๆ ได้แก่ ความล่าช้าของหน่วยงานรัฐในการพิจารณา
คำาร้องขอลงรายการสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๗ ทวิ และตามพระราช
บัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๒๓ การขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้
ปฏิบัติโดยเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำาหนดให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้อง
เช่น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือพยานบุคคล และการที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถกำาหนดสถานะทางทะเบียน
ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เป็นต้น เนื่องจากไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน
เมื่อยื่นคำาร้อง และขาดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนสำาหรับกรณีดังกล่าว ปัญหาหลักจากคำาร้อง คือ
การเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและการขาดอัตรากำาลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ทำาให้เกิดความล่าช้า
บางกรณีนานถึง ๓ - ๔ ปี
การจัดตั้งถิ่นฐาน และการดำารงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
กสม. พบว่า การประกาศพื้นที่เป็นป่าอนุรักษ์ เขตป่าสงวน และเขตอุทยานแห่งชาติ
ส่งผลกระทบต่อกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานและทำากินตามวิถีวัฒนธรรม เช่น กรณีคสช.ออกคำาสั่ง
คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ เพื่อการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำาลายทรัพยากรป่าไม้ ๗๙
ในส่วนของประเด็นด้านการประกอบอาชีพ กสม. พบปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิในการฝึกอาชีพของ
กลุ่มบุคคลที่ยังมิได้พิสูจน์สัญชาติ กรณีที่ระเบียบกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่าด้วยการฝึกเตรียมเข้าทำางาน
พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๘ (๓) กำาหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับการฝึกว่าต้องมีสัญชาติไทย โดยศูนย์พัฒนาฝีมือ
แรงงานในบางจังหวัดจะรับบุคคลไม่มีสัญชาติไทยได้สมัครเข้ารับการ
ฝึกอบรมกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน แต่เมื่ออบรมครบตามหลักสูตร
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในบางจังหวัดจะปฏิเสธการมอบวุฒิบัตรให้
บุคคลที่เข้าฝึกอบรม โดยอ้างว่าเนื่องจากเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย
๗๙ ดูรายละเอียดในเรื่อง ๒.๒.๕ สิทธิชุมชน และ ๒.๒.๖ สิทธิด้านที่ดินและป่า