Page 145 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 145

144  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗










                                            (๕)  สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน ทั้งโดยส่วนตัวและโดยร่วมกับ
                                                บุคคลอื่น

                                            (๖)  สิทธิในการรับมรดก
                                            (๗)  สิทธิในการมีเสรีภาพทางความนึกคิด ความสำานึก และศาสนา

                                            (๘)   สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
                                            (๙)  สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและการรวมกลุ่ม

                                        (ฉ)  สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                                            (๑)  สิทธิในการมีงานทำา ในการเลือกงานอย่างเสรี ในการมีสภาพใน

                                                การทำางานที่เหมาะสมและน่าพอใจ ในการได้รับการคุ้มครองจาก
                                                สภาพการตกงาน ในการได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันกับงานที่ทำา

                                                ในระดับเดียวกัน ในการได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและน่าพอใจ
                                            (๒)  สิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน

                                            (๓)  สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย
                                            (๔)  สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข การดูแลทางการแพทย์์

                                                การประกันสังคม และการบริการทางสังคม
                                            (๕)  สิทธิในการได้รับการศึกษาและการฝึกอบรม

                                            (๖)  สิทธิในการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน
                                        (ช)  สิทธิในการเข้าถึงสถานที่หรือบริการใด ๆ ที่มีไว้สำาหรับสาธารณชน

                              เช่น การเดินทางขนส่ง โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงละคร และสวนสาธารณะ

                                    ข้อ ๖
                                    รัฐภาคีจะรับประกันต่อทุกคนในเขตอาณาที่จะได้รับการคุ้มครองและการเยียวยา

                              ที่มีประสิทธิภาพ  โดยผ่านศาลระดับชาติและองค์กรของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อการ
                              กระทำาใด ๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ซึ่งได้ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนและ

                              เสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลนั้น อันไม่สอดคล้องกับอนุสัญญานี้ และสิทธิในอันที่จะขอ
                              จากศาลนั้น การทดแทนอย่างยุติธรรมและพอเพียงและการชดใช้ความเสียหายอันเป็น

                              ผลจากการเลือกปฏิบัตินั้น

                                    ข้อ ๗
                                    รัฐภาคีจะจัดให้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพและอย่างทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                              ในสาขาการสอน การศึกษา วัฒนธรรมและสารสนเทศ โดยมุ่งหมายที่จะต่อสู้กับการ
                              มีอคติอันนำาไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และเพื่อสร้างเสริมความเข้าใจ ขันติธรรม

                              และมิตรไมตรีระหว่างชาติต่าง ๆ และระหว่างกลุ่มชนเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ และ
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150