Page 16 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 16

14   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘



                     ผลงานลำาดับที่ ๕
                     เรื่อง  ก�รคัดเลือกเข้�รับร�ชก�รทห�รกองประจำ�ก�รโดยวิธีสมัครใจ

                           ต�มพระร�ชบัญญัติก�รรับร�ชก�รทห�ร พ.ศ. ๒๔๙๗

                           กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในข้อ ๑๘ กล่าวว่า บุคคลทุกคน

               ย่อมมีสิทธิในเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา  สิทธินี้ย่อมรวมถึงเสรีภาพในการมีหรือนับถือศาสนา
               หรือมีความเชื่อตามคตินิยมของตน  การเกณฑ์ทหารในต่างประเทศมีปัจเจกชนได้อ้างสิทธิ ในข้อ ๑๘ แห่ง
               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่จะปฏิเสธเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจ

               ด้านการทหาร เพราะขัดกับเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และความเชื่อทางศาสนาที่เขานับถืออย่างแท้จริง
               โดยรัฐต้องให้บุคคลดังกล่าวมีทางเลือกในการรับใช้ชาติอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาวุธ  และต้องไม่มี

               การเลือกปฏิบัติที่แตกต่างแก่ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม (Conscientious Objectors)  รวมทั้งมีมาตรการ
               ที่รัฐต้องพิจารณาให้เชื่อได้ว่า  บุคคลนั้นเป็นผู้มีความคิด มโนธรรมและความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง
               อย่างไรก็ตามประเทศต่างๆ ในแถบยุโรปได้ยกเลิกการรับราชการทหารโดยบังคับและหลายประเทศการรับราชการ

               ทหารได้มีหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นระบบสมัครใจ

                           สำาหรับประเทศไทยหลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๗๓
               บัญญัติให้ “บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร... ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”  ซึ่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
               พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติให้ “ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเอง

               ทุกคน” เมื่อพิจารณาหลักการตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๘ ข้างต้น
               ซึ่งกำาหนดว่า เสรีภาพในการมีหรือนับถือศาสนาเป็นสิทธิที่จะละเมิดหรือลดทอนมิได้ (Non-Derogable Right)
               ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ  การนำาบทบัญญัติมาตรา ๗ ของพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

               มาใช้กับชายซึ่งมีสัญชาติไทยทุกคน  รวมถึงผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม (Conscientious Objectors) จึงไม่
               สอดคล้องกับหลักการตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทย
               เป็นภาคี  อย่างไรก็ตาม หากยังไม่มีข้อยกเว้นแก่บุคคลที่มีความคิด มโนธรรมและความเชื่อทางศาสนา

               อย่างแท้จริง  รัฐบาลต้องพิจารณาจัดทางเลือกในการรับใช้ชาติที่ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจในการสู้รบหรือมีลักษณะ
               งานพลเรือนเพื่อประโยชน์สาธารณะ  (Alternative  National  Service)  รวมทั้งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร

               พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นกฎหมายที่บังคับใช้มานาน จึงควรทบทวน ศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับการทหารในต่างประเทศ
               เพื่อเปลี่ยนให้เป็นระบบสมัครใจและสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน  และมีแนวทางการแก้ไข
               ปัญหาหรือมีมาตรการระยะสั้นในการเยียวยาหรือการป้องกันแก่บุคคลผู้มีความคิด มโนธรรม และความเชื่อ

               ทางศาสนาอย่างแท้จริง  เช่น  การพิจารณาจัดทางเลือกในการรับใช้ชาติที่ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจในการสู้รบ
               หรือมีลักษณะงานพลเรือนเพื่อประโยชน์สาธารณะ  มีกลไกหรือมีมาตรการหลีกเลี่ยงการฝึกหรือปฏิบัติภารกิจ

               ที่ต้องจับอาวุธ หรือให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เป็นต้น
                           คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะนโยบายเรื่องนี้ว่า คณะรัฐมนตรี

               ควรศึกษากระบวนการรับราชการทหารกองประจำาการในต่างประเทศ เพื่อพิจารณาปรับปรุงเป็นระบบสมัครใจ
               และสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน  และแนวทางแก้ปัญหาหรือมาตรการระยะสั้นในการเยียวยาหรือป้องกัน
               ผู้มีความคิด มโนธรรม ความเชื่ออย่างแท้จริงที่คัดค้านการสู้รบ  หากประเทศไทยมีความพร้อมควรพิจารณา
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21