Page 17 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 17
15
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
แก้ไขพระราชบัญญัติการรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยให้ใช้การรับราชการทหารกองประจำาการโดยวิธี
สมัครใจ ให้ผู้สมัครใจเป็นทหารกองประจำาการในพื้นที่ที่มีผู้สมัครใจเกินความต้องการ ได้เป็นทหารกองประจำาการ
ทุกกรณี ส่งเสริมหรือมีมาตรการจูงใจที่เปิดโอกาสให้มีการสมัครใจเป็นทหารกองประจำาการ โดยเน้นให้
ทหารกองประจำาการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ กำาหนดเป้าหมายให้ลดหรือเลิกใช้การคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ
เป็นทหารกองประจำาการจากการบังคับเป็นสมัครใจ กำาหนดนโยบายความต้องการกำาลังพลในแต่ละปี กำาหนด
สิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้มีการสมัครใจเป็นทหาร/ตำารวจกองประจำาการมากขึ้น โดยคำานึงถึงความสมัครใจ
รายละเอียดอยู่ในผลงานลำาดับที่ ๕
ผลงานลำาดับที่ ๖
เรื่อง ร่�งพระร�ชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจ�กก�รบริก�รส�ธ�รณสุข พ.ศ. ....
ปัจจุบันความเสียหายจากบริการสาธารณสุขมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นตรงกัน ในประเทศไทยและ
หลายประเทศ คือ แต่ละปีมีผู้ป่วยที่ต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ในกระบวนการ
รักษาพยาบาลเป็นจำานวนมาก ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเกิดความผิดพลาดและความเสียหายเพียงใด
หากพิจารณาสถิติการร้องเรียนของประชาชนไปยังแพทยสภาและทางสื่อมวลชนแล้ว จะเห็นแนวโน้มความรุนแรง
ของปัญหาและทำาให้การเผชิญหน้าระหว่างประชาชนกับบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น คณะกรรมการปฏิรูป
กฎหมายได้ทำาการศึกษาและเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
ต่อคณะรัฐมนตรี และรัฐสภา กระทรวงสาธารณสุขได้ศึกษาร่างกฎหมายในเรื่องดังกล่าวและจัดทำาเป็น
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะนโยบายเรื่องนี้ว่า หากจะให้
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สามารถระงับ เพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลและประกอบ
โรคศิลปะ กรณีสถานพยาบาลฝ่าฝืนคำาสั่งที่ออกมาอันเกี่ยวเนื่องกับกองทุน ร่างพระราชบัญญัติฯ ต้องกำาหนดให้
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพมีอำานาจหน้าที่ดังกล่าวด้วย และเห็นว่าหน่วยงานที่ควรรับผิดชอบการดำาเนินการ
ตามร่างพระราชบัญญัติฯ ควรเป็นสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากดูแลผู้ได้รับความเสียหายจาก
การบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ อยู่แล้ว
ในเชิงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย คณะกรรมการฯ เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ ควรใช้คำาว่า
“ผู้เสียหาย” ไม่ใช่ “ผู้ได้รับผลกระทบ” ชื่อร่างพระราชบัญญัติฯ ควรเป็น ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขฯ ตัดนิยามคำาว่า “ผู้ได้รับผลกระทบ” เพิ่มนิยามคำาว่า “ผู้เสียหาย”
คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ ควรเพิ่มอธิบดีกรมบัญชีกลางซึ่งรับผิดชอบระบบสวัสดิการรักษา
พยาบาลของข้าราชการด้วย เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นหลังทำาสัญญาประนีประนอม ควรให้ผู้เสียหาย
สามารถยื่นคำาร้องขอรับเงินชดเชยตามร่างพระราชบัญญัติฯ ภายใน ๓ ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย
ไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่วันที่เกิดความเสียหายเมื่อศาลมีคำาพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยให้ผู้ใดรับผิด
ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยคณะอนุกรรมการดังกล่าวประจำาจังหวัดพิจารณาดำาเนินการตาม
ร่างพระราชบัญญัติฯ ได้อีก ผู้เสียหายที่รับเงินชดเชยความเสียหายและมีการจัดทำาสัญญาประนีประนอม
ไม่ควรถูกตัดสิทธิการฟ้องคดีต่อศาล ควรตัดมาตรา ๒๒ ที่ว่าให้ผู้ได้รับผลกระทบต้องดำาเนินการ