Page 15 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 15
13
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ได้ให้คำามั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไกการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศของสหประชาชาติ
(Universal Periodic Review : UPR) รอบที่หนึ่ง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔) ว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO
สองฉบับข้างต้น มีการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นกิจกรรมหนึ่ง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะนโยบายเรื่องนี้ว่า รัฐบาล
ควรมีนโยบายและแผนการที่ชัดเจนในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ (เสรีภาพในการสมาคมและ
การคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว) และฉบับที่ ๙๘ (สิทธิในการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง) โดยไม่ต้องรอ
การแก้ไขกฎหมายภายในก่อน มีการบัญญัติหรือปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้คนทำางานทุกประเภทมีสิทธิและเสรีภาพ
ในการรวมตัวเจรจาต่อรอง จัดทำาระบบการจัดเก็บข้อมูลแรงงานข้ามชาติในระบบทะเบียนราษฎร กำาหนดเงื่อนไข
ในการใช้สิทธิรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติไว้ในกฎหมาย โดยคำานึงถึงตามหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน
ควรใช้คำาว่า “แรงงานข้ามชาติ” แทนคำาว่า “แรงงานต่างด้าว” มีการเผยแพร่หรือสนับสนุนให้องค์กรด้านแรงงาน
เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ
ในเชิงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย คณะกรรมการฯ เห็นว่า ระยะสั้น รัฐบาลและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา ILO สองฉบับ ระยะยาว ควรศึกษาและ
จัดทำากฎหมายที่เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว เจรจาต่อรองของคนทำางานทุกประเภท ทบทวน
ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ให้สอดคล้องกับ
อนุสัญญา ILO สองฉบับ โดยแก้คำาว่า ลูกจ้าง เป็น คนทำางาน แก้ไขบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นการแทรกแซง
จากเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ขั้นตอนการขอรับใบสำาคัญการจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน การให้อธิบดี
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าไปในสำานักงานของสหภาพแรงงานในเวลาทำาการ ทั้งนี้ การเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว
ควรมีหมายค้นหรือคำาสั่งศาล และการให้อธิบดีมีอำานาจสั่งให้กรรมการหรือคณะกรรมการของสมาคมนายจ้าง
หรือสหภาพแรงงานออกจากตำาแหน่ง ทั้งนี้ การให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำาแหน่ง ควรเป็นคำาตัดสินของศาล
แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ โดยให้มี
บทบัญญัติที่ชัดเจนว่า ให้สหภาพแรงงานเป็นสมาชิกสภาองค์กรลูกจ้างได้ ให้สหภาพ สหพันธ์แรงงานจัดตั้ง
สภาองค์การลูกจ้างได้ และให้สหภาพแรงงานสามารถรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานและสภาองค์การลูกจ้าง
ได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ทั้งสองฉบับ เป็นให้นายจ้าง องค์กรนายจ้าง และรัฐบาลจัดให้มี
่
มาตรการขั้นตำาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดกับสาธารณชน (กรณีมีการนัดหยุดงาน) มีกลไกเจรจา โดยสมัครใจ
ระหว่างนายจ้าง องค์การนายจ้าง องค์การคนทำางาน หากให้มีคณะกรรมการดำาเนินการชี้ขาดข้อพิพาท ควรให้
นายจ้าง องค์การนายจ้าง องค์การคนทำางานใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องศาลได้ ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
ทั้งสองฉบับ ควรมีการคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานจากการถูกแทรกแซงจากนายจ้าง
รายละเอียดอยู่ในผลงานลำาดับที่ ๔