Page 14 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 14
12 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายตามร่างพระราชบัญญัติฯ สำานักงานตำารวจแห่งชาติควรจัดสรรทรัพยากร
อย่างเหมาะสมและเพียงพอในการให้มีมาตรการ กลไก เทคโนโลยีสนับสนุน การทำางานของพนักงานสอบสวน
ควรกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีช่วยเหลือเยียวยาทางการเงินแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำาของรัฐ
หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ สำาหรับเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐนำาไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ในเชิงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรแก้ไขมาตรา ๕ ว่า เจ้าหน้าที่
่
ของรัฐที่กระทำาการที่เป็นการกระทำาหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ยำายีศักดิ์ศรี ให้พิจารณาโทษ
อาญาและอาจรับผิดตามกฎหมายอื่น เช่น วินัย แพ่ง ฯลฯ ด้วยก็ได้ แก้ไขมาตรา ๕ และ ๖ ว่า ไม่ให้ใช้มาตรการ
อันเป็นคุณแก่นักโทษเด็ดขาดคดีทรมาน/บังคับบุคคลให้สูญหายที่ผิดร้ายแรง จนกว่าผู้นั้นจะรับโทษเกินกว่า
กึ่งหนึ่งหรือตามที่กำาหนด แก้ไขมาตรา ๑๖ ว่าให้สืบสวน (คดีบังคับบุคคลให้สูญหาย) จนกว่าจะนำาผู้กระทำาผิด
มาลงโทษ แก้ไขมาตรา ๒๔ ว่า หากมีข้อสงสัยหรือเชื่อได้ว่า การส่งบุคคลนั้นออกนอกราชอาณาจักรจะทำาให้
ผู้นั้นถูกกระทำาทรมาน/ถูกบังคับให้สูญหายให้เจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบคณะกรรมการ ตามร่างพระราชบัญญัติฯ
ขอให้ชะลอการส่งตัวฯ ได้ แก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน
พ.ศ. ๒๕๕๑ พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ สนธิสัญญา
ส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อประกันว่า มีหลักการไม่ส่งบุคคลออกนอกราชอาณาจักร หากเชื่อได้ว่าจะทำาให้ผู้นั้น
ถูกกระทำาทรมาน/ถูกบังคับให้สูญหาย (non-refoulement) รวมความผิดฐานกระทำาทรมานและการบังคับบุคคล
ให้สูญหายเป็นความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ แก้ไขมาตรา ๒๕ และ ๒๖ โดยเพิ่มกรรมการที่เป็นผู้แทนผู้เสียหาย
คดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายอย่างละ ๑ คน เพิ่มผู้แทนภาคประชาชนเป็นกรรมการสรรหากรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ แก้มาตรา ๓๘ ว่า ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานผู้รับผิดชอบคดีทรมาน
และคดีบังคับบุคคลให้สูญหายต้องไม่อยู่หน่วยงานรัฐสังกัดเดียวกับผู้ถูกสอบสวน เพิ่มบทบัญญัติที่กำาหนด
สถานะทางกฎหมายของผู้ถูกบังคับให้สูญหายซึ่งไม่ทราบชะตากรรมและของญาติของผู้นั้น มีมาตรการป้องกัน
และลงโทษผู้กระทำาผิดคดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่ผู้เสียหายเป็นเด็ก หรือที่เด็กได้รับผลกระทบจากการบังคับ
ให้บุคคลสูญหาย รายละเอียดอยู่ในผลงานลำาดับที่ ๓
ผลงานลำาดับที่ ๔
เรื่อง ก�รเข้�เป็นภ�คีอนุสัญญ�องค์ก�รแรงง�นระหว่�งประเทศ
ฉบับที่ ๘๗ ว่�ด้วยเสรีภ�พในก�รสม�คมและก�รคุ้มครองสิทธิในก�รรวมตัว และ
ฉบับที่ ๙๘ ว่�ด้วยสิทธิในก�รรวมตัวและก�รร่วมเจรจ�ต่อรอง และก�รอนุวัติกฎหม�ยภ�ยใน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะนโยบายเรื่องนี้ว่า เสรีภาพ
ในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งได้รับการรับรอง
โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๒๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อ ๒๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๘ และได้รับการรับรองไว้
ในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization : ILO) ฉบับที่ ๘๗ และ
ฉบับที่ ๙๘ อันเป็น ๒ ใน ๘ อนุสัญญาหลักของ ILO และประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคี โดยผู้แทนรัฐบาลไทย