Page 12 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 12
10 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ผลงานลำาดับที่ ๒
เรื่อง นโยบ�ยของรัฐบ�ล “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษ�ทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”
สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำาหนดแนวทางเข้ารับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
(Emergency Claim Online : EMCO) โดยให้แนวทางวินิจฉัย เช่น มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรคหรืออาการของโรคที่มี
ลักษณะรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือต่อผู้อื่น มีลักษณะรุนแรงต้องรักษาเร่งด่วนและโรคที่ต้องผ่าตัดด่วน
หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้แนวทางการใช้สิทธิกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินและกรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป
ว่าให้เข้ารับบริการจากหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยไปยัง
โรงพยาบาลที่ผู้นั้นมีสิทธิ อย่างไรก็ตาม มีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ประชาชน ผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์
เข้าใจและตีความคำาว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน และพ้นวิกฤต ต่างกัน ประชาชน ผู้ป่วย โรงพยาบาลที่ไม่ใช่คู่สัญญา
ระบบบริการสาธารณสุขไม่ทราบระบบการแจ้งสิทธิและระบบอนุมัติให้เข้ารับบริการรักษาพยาบาลกรณี
เจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่สามารถหาต้นทุนการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมได้ ซึ่งโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาล
ทางเลือก หรือเรียกเก็บค่าบริการและโรงพยาบาลของรัฐมีต้นทุนดังกล่าวแตกต่างกันมาก ไม่มีการตั้งงบประมาณ
เพิ่มเติมเพื่อรองรับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะนโยบายเรื่องนี้ว่า คณะรัฐมนตรี
ควรศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลข้อดี ข้อท้าทายในการนำานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินไปปฏิบัติ รวมถึงจำานวน
งบประมาณรองรับ ควรประชาสัมพันธ์นโยบายฯ แก่ประชาชนและผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์
เงื่อนไข มีการให้คำาปรึกษาแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ๒๔ ชม. จัดระบบการนำานโยบายฯ ไปปฏิบัติโดยไม่เป็นภาระ
แก่โรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลที่ไม่ใช่คู่สัญญา มีแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการที่โรงพยาบาลที่ให้
การรักษาไม่แจ้งสิทธิเรื่องนี้ หรือให้ผู้ป่วยหรือญาติลงนามในสัญญาผูกพันจ่ายค่ารักษา มีมาตรการและจัดสรร
เงินกองทุนรองรับการปฏิบัติตามนโยบายฯ กำาหนดวิธีเบิกจ่ายค่ารักษาแก่ผู้ป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
ทางถนน กำาหนดมาตรการควบคุมอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลทางเลือก/
เรียกเก็บค่าบริการ (fee-for-service hospital) มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกโรงพยาบาล
ฟ้องคดี เช่น ให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมเป็นคู่กรณี หรือชดเชยค่ารักษาที่ผู้เสียหายจ่ายไปแล้ว
มีมาตรการจูงใจแก่โรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้ความร่วมมือ เช่น ลดหย่อนภาษี กำาหนดเพดานค่ารักษา ฯลฯ
ในเชิงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรแก้ไขพระราชบัญญัติ
สถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง โดยให้สถานพยาบาลแจ้งสิทธิการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
แก่ผู้ป่วยหรือญาติ และให้เบิกจ่ายค่ารักษาจากสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และแก้ไขกฎกระทรวง
กำาหนดความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำานวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่าย
ค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๓ เป็น จำานวนเท่าที่จ่ายจริงสำาหรับความเสียหายต่อร่างกายตามข้อ ๒ (๑)
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ รับทราบรายงานผลการพิจารณาฯ ของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผลการดำาเนินการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งประกอบด้วย
นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินช่วยให้ประชาชนสามารถรับบริการฉุกเฉินทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งที่ควรปรับปรุง
คือ อัตราการจ่ายค่าชดเชยแก่โรงพยาบาล เกณฑ์วินิจฉัยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินและพ้นภาวะฉุกเฉิน
การประชาสัมพันธ์แก่ผู้ให้บริการและประชาชน ระบบสำารองเตียงและส่งต่อผู้ป่วยที่พ้นภาวะฉุกเฉิน