Page 13 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 13
11
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ควรให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ) เป็นหน่วยดูแลระบบการแพทย์ฉุกเฉิน แนวทางที่จะดำาเนินการ
ต่อไป คือ จัดให้มีกลไกทำาหน้าที่บริหารจัดการระบบ ตรวจสอบระบบการเบิกจ่ายค่าบริการ รับอุทธรณ์เรื่อง
ร้องเรียน แก้ปัญหาของประชาชนเรื่องนี้ส่วนมาตรการควบคุมอัตราค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชน ปัจจุบัน
ดำาเนินการโดยใช้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และประกาศกระทรวง เรื่อง มาตรฐานการบริการ
ด้านการแพทย์ฉุกเฉินของสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๗ รวมทั้ง ได้เสนอไปยังกรมการค้าภายในเพื่อกำาหนด
ให้ค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นสินค้าควบคุม กระทรวงพาณิชย์ ตามหนังสือลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๘
แจ้งว่า การกำาหนดเป็นสินค้าหรือบริการควบคุมจะต้องเสนอคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและ
บริการ (กกร.) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ รายละเอียดอยู่ในผลงานลำาดับที่ ๒
ผลงานลำาดับที่ ๓
เรื่อง ร่�งพระร�ชบัญญัติป้องกันและปร�บปร�มก�รทรม�นและก�รบังคับบุคคลให้สูญห�ย พ.ศ. ....
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารายงานผลการพิจารณาฯ
เรื่อง การอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ รวมทั้งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย และ
คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ รับทราบรายงานผลการพิจารณาฯ ของคณะกรรมการฯ และ
รับทราบสรุปผลการดำาเนินงานของหน่วยงานราชการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ รวมทั้งให้กระทรวง
ยุติธรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำาเนินการตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยหนึ่งในจำานวนนั้น คือ
การยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ. ....
(ต่อมาเปลี่ยนเป็น ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ....)
ขณะจัดทำารายงานผลการพิจารณาฯ นี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ระหว่างบรรจุเป็นวาระการประชุมของ
คณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีข้อเสนอแนะนโยบาย เรื่องนี้ว่า
คณะกรรมการฯ เห็นด้วยกับการเสนอให้เรื่องการต่อต้านการทรมานและการคุ้มครองบุคคลจากหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับตามอนุสัญญาสองฉบับข้างต้น เป็นกฎหมายพิเศษต่างหากในลักษณะพระราชบัญญัติตามที่
กระทรวงยุติธรรมเสนอ รัฐสภา คณะรัฐมนตรีควรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ โดยนำาข้อเสนอแนะของ
คณะกรรมการฯ ประกอบการพิจารณา ระหว่างประเทศไทยยังไม่เป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ที่ทำาให้บุคคลเสื่อมเสีย
อิสรภาพ ร่างพระราชบัญญัติฯ ควรเพิ่มนิยามคำาว่า ผู้บังคับบัญชา และมีกลไกสอบสวนและดำาเนินคดีตาม
กฎหมายแก่ผู้กระทำาผิดคดีทรมานหรือคดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่เป็นผู้นำาระดับสูง ควรบัญญัติให้ชัดเจนว่า
ให้คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่มอบหมายพนักงานอัยการสอบสวนร่วมกับพนักงาน
สอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองโดยให้พนักงานอัยการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน กระทรวงมหาดไทยและ
สำานักงานอัยการสูงสุดควรพิจารณาแก้ไขกฎ ระเบียบในความรับผิดชอบเพื่อรองรับการทำาหน้าที่สอบสวนคดี