Page 126 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 126

124    ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                           ๓.๑.๓  ระยะเวลาเป็นทหารกองประจำาการและการเป็นทหารกองหนุน (มาตรา ๙)

               มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

                                 ๑)  ทหารกองเกินซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ที่
               อยู่ในระหว่างที่จะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำาการ และเมื่อต้องเข้ากองประจำาการจะต้องเข้ารับราชการ
               ทหารกองประจำาการมีกำาหนดสองปี

                                 ๒)  ส่วนผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษหรือเมื่อมีกรณีพิเศษ จะให้รับราชการทหารกองประจำาการ
               น้อยกว่าสองปีตามที่กำาหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการ

               ทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗
                                                          ๓๕
                                 ๓)  การปลดเป็นทหารกองหนุน    มีหลักเกณฑ์ คือ
                                     (๑)  เมื่ออยู่ในกองประจำาการจนครบกำาหนดแล้วให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภท

               ที่ ๑ (มาตรา ๙ วรรคสอง)
                                     (๒)  บุคคลซึ่งสำาเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำาหนดตาม
               กฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และมีลักษณะตามที่กำาหนดในกฎกระทรวงจะให้รับราชการทหาร

               กองประจำาการน้อยกว่าสองปี หรือให้ขึ้นทะเบียนกองประจำาการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภท ที่ ๑
               โดยมิต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำาการก็ได้ (มาตรา ๙ วรรคสาม)

                                     (๓)  ทหารกองเกินเมื่อมีอายุครบกำาหนดปลดแล้ว ให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภท
               ที่ ๒ ตามลำาดับ คือ อายุสามสิบปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุน ชั้นที่ ๒ อายุสี่สิบปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุน
               ชั้นที่ ๓ อายุสี่สิบหกปีบริบูรณ์ เป็นพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒ (มาตรา ๓๙)

                                     (๔)  ทหารกองประจำาการ ถ้าต้องจำาขังหรือจำาคุกครั้งเดียวหรือหลายครั้งเมื่อมีกำาหนด
               วันที่จะต้องทัณฑ์หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก็ดี หรือทหารกองประจำาการผู้ใดซึ่งกระทรวงกลาโหม
               เห็นว่าจะกระทำาให้เสื่อมเสียแก่ราชการทหารด้วยประการใดๆ ก็ดี จะปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ก็ได้

               (มาตรา ๔๐)




               ๓๕  พระร�ชบัญญัติรับร�ชก�รทห�ร พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้ให้คำานิยามเกี่ยวกับทหารประเภทต่างๆ ในมาตรา ๔ ดังนี้
                        (๑) ทห�รกองเกิน หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตาม
                   มาตรา ๑๖ หรือผู้ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา ๑๘ แล้ว
                        (๒) ทห�รกองประจำ�ก�ร หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำาการและได้เข้ารับราชการในกองประจำาการจนกว่าจะได้ปลด
                        (๓) ทห�รกองหนุนประเภทที่ ๑ หมายความว่า ทหารที่ปลดจากกองประจำาการ โดยรับราชการในกองประจำาการจนครบกำาหนด
                   หรือทหารกองเกินซึ่งสำาเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร  และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำาการแล้วปลด
                   เป็นกองหนุนตามพระราชบัญญัตินี้
                        (๔) ทห�รกองหนุนประเภทที่ ๒  หมายความว่า  ทหารที่ปลดจากกองเกินตามมาตรา ๓๙  หรือปลดจากกองประจำาการตาม
                   มาตรา ๔๐
                        (๕) พ้นร�ชก�รทห�รประเภทที่ ๑ หมายความว่า ทหารซึ่งถูกปลดโดยที่ได้รับราชการในชั้นต่างๆ จนครบกำาหนด หรือโดยที่พิการ
                   ทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ในระหว่างรับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้
                        (๖) พ้นร�ชก�รทห�รประเภทที่ ๒ หมายความว่า ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ที่มีอายุสี่สิบหกปีบริบูรณ์แล้ว หรือทหารกองเกิน
                   หรือทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ ซึ่งพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคอันไม่สามารถจะรับราชการได้ในระหว่างรับราชการทหารตามพระราช
                   บัญญัตินี้หรือนายทหารสัญญาบัตรที่ถูกปลดโดยถูกถอดหรือออกจากยศ
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131