Page 129 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 129
127
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ไม่สามารถเป็นทหารกองประจำาการได้ สำาหรับความต้องการทหารกองประจำาการในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ กองทัพ
๓ เหล่าทัพ มีความต้องการทหารกองประจำาการ จำานวน ๙๙,๓๗๓ คน ปรากฏว่ามีผู้ร้องขอเข้ากองประจำาการ
จำานวน ๔๓,๔๔๖ คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ส่วนหนึ่งมาจากเงินเดือนทหารกองประจำาการมีเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ แม้กฎหมายเปิดโอกาสให้ร้องขอเข้ากองประจำาการได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๕ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ออก
ตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ แต่จำานวนผู้ร้องขอเข้ากองประจำาการมีจำานวน
ไม่เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๖ บัญญัติให้ การใช้กำาลังทหารหรือการอื่นใด เพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการ
กระทำาความผิดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือเกี่ยวกับการก่อการร้าย ซึ่งจำาเป็นต้องใช้กำาลังทหารเพื่อระงับ
เหตุการณ์ร้ายแรงโดยเร็ว มิให้เหตุการณ์มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์แห่งชาติให้เป็นไป
ตามที่กระทรวงกลาโหมกำาหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำาหนดไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งเป็นหน้าที่กองทัพทั้ง ๓ เหล่าทัพ
ที่จะต้องจัดเตรียมกำาลังทหาร หากมีสถานการณ์ดังกล่าวหรือขั้นต้องระดมพล ในส่วนนี้จะได้นำาทหาร
กองประจำาการมาเป็นส่วนเสริมตามที่กฎหมายกำาหนดไว้
(๗) จากประสบการณ์พบว่า ผู้ที่ร้องขอเข้ากองประจำาการ (สมัครใจ) จะเอาใจใส่ในการ
ฝึกทหารและปฏิบัติราชการมากกว่าผู้ได้รับการตรวจเลือก แต่มีข้อจำากัด คือ ผู้ที่สมัครใจมีไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการของกองทัพ อีกทั้งผู้สมัครใจบางส่วนมีขนาดของร่างกายและเป็นโรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร
กองประจำาการ ทั้งนี้ ผู้สมัครใจรับราชการทหารกองประจำาการ สามารถเลือกหน่วยประจำาการได้
(๘) ความพร้อมของประเทศไทยในการรับราชการทหารกองประจำาการโดยวิธีสมัครใจ
เห็นว่า ถ้าชายไทยมีความเข้าใจในเรื่องหน้าที่ซึ่งพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ กำาหนดหน้าที่ของชายไทย
และกฎหมายเปิดให้มีการสมัครใจได้เช่นกัน แต่เกิดปัญหาตรงที่จำานวนผู้สมัครใจรับราชการทหารกองประจำาการ
มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพ จึงต้องใช้วิธีการตรวจเลือกเพิ่มโดยการจับสลากตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๓ กำาหนดให้
คณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเข้าเป็นทหารกองประจำาการ หากผู้ที่มีร่างกายเหมาะสมสมัครใจรับราชการ
ทหารตามจำานวนที่ต้องการ จึงไม่ต้องทำาการจับสลากใบดำาใบแดง ทั้งนี้ ต้องหาแรงจูงใจให้มีการสมัครเข้ารับ
ราชการทหารกองประจำาการให้มากขึ้น
(๙) ความเห็นเกี่ยวกับการลดระยะเวลาให้สอดคล้องกับการฝึกทหารอย่างแท้จริงเห็นว่า
การฝึกทหารกองประจำาการระยะแรก เป็นการฝึกเบื้องต้นหรือการฝึกของทหารใหม่ ใช้เวลาฝึก ๑๐ สัปดาห์
หรือประมาณ ๒ เดือนครึ่ง ระยะที่สอง เป็นการฝึกระดับหมู่ตอนหมวด โดยฝึกทางยุทธวิธี ซึ่งเป็นไปตามแผน
ป้องกันประเทศ ระยะต่อไป เป็นการฝึกแบบภาคกองร้อย และประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน จะเป็น
การฝึกระดับกองพัน
นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมเปิดโอกาสให้ทหารกองประจำาการรับราชการต่อไป
หลังจากครบกำาหนดประจำาการ โดยสามารถรับราชการต่อไปเป็นระยะเวลา ๑ ปี หรือจนถึงอายุ ๒๕ ปี ซึ่งจำานวน
ผู้ที่อยู่รับราชการต่อนั้นมีประมาณพันกว่าคน ส่วนใหญ่จะเป็นนักกีฬาของกองทัพ ซึ่งไม่ใช่จุดประสงค์ของ
กองทัพในการป้องกันประเทศ แต่ปัจจุบันกองทัพไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะเพียงป้องกันประเทศเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่
ป้องกันภัยต่างๆ เช่น ยาเสพติด แรงงานข้ามชาติ เป็นต้น ซึ่งกระทรวงกลาโหมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องตามความ
ในมาตรา ๘ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้ กระทรวง