Page 131 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 131

129
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  ไม่ได้บัญญัติคำาว่า “ตำารวจกองประจำาการ” ไว้ในพระราชบัญญัตินี้เช่นกัน  ปัจจุบันสำานักงานตำารวจแห่งชาติ

                  ประสบปัญหากำาลังตำารวจในระดับปฏิบัติการที่มีอายุค่อนข้างมาก (อายุ ๔๓ ปี โดยเฉลี่ย)  โดยเฉพาะข้าราชการ
                  ตำารวจทำางานในกองบัญชาการตำารวจตระเวนชายแดน  กองบัญชาการตำารวจภูธรภาค ๙  และศูนย์ปฏิบัติการ

                  ตำารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีอายุโดยเฉลี่ย
                  มากที่สุด  สำานักงานตำารวจแห่งชาติจึงมีนโยบายรับทหารกองประจำาการที่ปลดประจำาการแล้วเข้ามารับราชการ
                  ตำารวจ

                                    (๒) สาเหตุที่ต้องมีตำารวจกองประจำาการ คือ ตำารวจระดับชั้นประทวน สายงานปฏิบัติการ
                  มีจำานวน ๖๖% จากทั้งหมด ที่ผ่านมาสำานักงานตำารวจแห่งชาติไม่สามารถเพิ่มจำานวนข้าราชการตำารวจได้

                  เพราะรัฐบาลในอดีตเคยมีนโยบายลดอัตรากำาลังข้าราชการ  ทำาให้จำานวนข้าราชการตำารวจเมื่อเกษียณแล้ว
                  ไม่มีการบรรจุข้าราชการตำารวจใหม่เข้ามาทดแทนได้ ทำาให้อัตรากำาลังข้าราชการตำารวจขาดไปกว่า ๑๔,๐๐๐ นาย
                  แม้ว่าจะมีตำารวจอาสา แต่ไม่ใช่ข้าราชการตำารวจและตำารวจอาสาเป็นไปตามความสมัครใจของผู้นั้นซึ่งเข้ามา

                  ทำางานเป็นการชั่วคราวหรือทำางานบางช่วงเวลา และการรับข้าราชการตำารวจยศชั้นประทวน หากมีบำาเหน็จ
                  บำานาญเมื่อคำานวณแล้ว ใช้เงินจำานวน ๑๒ ล้านบาทต่อหนึ่งคน  แต่หากใช้ตำารวจกองประจำาการ เมื่อคำานวณแล้ว

                  ใช้เงินจำานวน ๔.๔ ล้านบาทต่อหนึ่งคน ทำาให้ประหยัดงบประมาณจึงมีการเสนอให้มีตำารวจกองประจำาการขึ้น
                                    (๓) ภารกิจของตำารวจกองประจำาการไม่จำาเป็นต้องรับการฝึกอบรมด้านการสืบสวน

                  สอบสวนและการปราบปรามแบบข้าราชการตำารวจทั่วไป เพียงแต่ทำาหน้าที่ในการเฝ้าระวังฐานปฏิบัติการต่างๆ
                  หรือบริเวณพื้นที่ชายแดน หรือรักษาความปลอดภัยในพื้นที่หรือเส้นทางที่สำาคัญ โดยหลักการตำารวจ

                  กองประจำาการไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ต้องติดอาวุธ เว้นแต่ภารกิจบางอย่างที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น เงื่อนไข
                  ในการรับสมัครตำารวจกองประจำาการเบื้องต้น ต้องเป็นไปตามความสมัครใจ  สำาหรับคุณวุฒิที่จะรับสมัคร
                  กำาลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ส่วนระยะเวลาประจำาการของตำารวจกองประจำาการ ต้องประจำาการ

                  เต็มระยะเวลา ๒ ปี  สำาหรับสิทธิพิเศษเมื่อปลดประจำาการอยู่ระหว่างพิจารณาเช่นกัน และเมื่อปลด
                  ประจำาการแล้ว จะเป็นทหารกองหนุน หากประเทศมีภัยคุกคามหรือต้องการกำาลังพลสามารถเรียกกลับเข้า
                  ประจำาการได้

                                    (๔) ตัวอย่างประเทศที่มีการตรวจเลือกคนเข้าเป็นตำารวจกองประจำาการ  ในต่างประเทศ
                  เช่น ประเทศสิงคโปร์ มีทหารกองประจำาการและตำารวจกองประจำาการ หรือเรียกว่า Police Conscript

                  ทำาหน้าที่เป็นตำารวจชุมชน และมีตำารวจบรรเทาสาธารณภัยทำาหน้าที่ดับเพลิง  ส่วนประเทศเกาหลีใต้ กำาหนดให้
                  ชายทุกคนในประเทศต้องเป็นทหารหรือตำารวจกองประจำาการ
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136