Page 121 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 121

119
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง และการควบสมาคมนายจ้าง ให้สะดวกขึ้น เช่น

                  จากให้รับรองการจัดตั้งเป็นแจ้งการจัดตั้ง เป็นต้น
                                        ๒.๒)  ควรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๐๒ และ

                  ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๗ จากเดิมที่ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
                  มีอำานาจเข้าไปในสำานักงานของสหภาพแรงงานในเวลาทำาการ แก้ไขเป็น ให้มีหมายค้นหรือคำาสั่งศาลด้วย และ
                  แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๑ มาตรา ๑๐๓  และร่างพระราชบัญญัติแรงงาน

                  รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ. ....  มาตรา ๕๘  จากเดิมที่ให้อธิบดีมีอำานาจสั่งให้กรรมการหรือคณะกรรมการ
                  ของสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานออกจากตำาแหน่งได้  แก้ไขเป็น  การให้ออกจากตำาแหน่งควรเป็นคำาตัดสิน
                  ของศาล

                                    ๓)  สิทธิการรวมตัวเป็นสหพันธ์ สมาพันธ์

                                        ควรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ให้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้
                  สหภาพแรงงานเข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้าง การให้สหภาพ สหพันธ์แรงงานจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้าง

                  และการให้สหภาพแรงงานใดๆ สามารถรวมกันเป็นสหภาพแรงงานและสภาองค์การลูกจ้าง

                                    ๔)  หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธินัดหยุดงาน และการเจรจาโดยสมัครใจ
                                        ควรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับจากเดิมที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

                  เมื่อเห็นว่า การปิดงานหรือการนัดหยุดงานนั้น อาจทำาให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจ
                  ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจขัดต่อความสงบ
                  เรียบร้อยของประชาชน  ให้รัฐมนตรีมีอำานาจสั่งให้คณะกรรมการดำาเนินการชี้ขาดข้อพิพาท  คำาชี้ขาดของ
                                                                                               ่
                  คณะกรรมการให้เป็นที่สุด  เป็นให้  นายจ้าง องค์กรนายจ้าง รัฐบาลจัดให้มีมาตรการขั้นตำาเพื่อบรรเทา
                  ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสาธารณชน และให้มีการใช้กลไกการเจรจาโดยสมัครใจระหว่างนายจ้าง
                  องค์การนายจ้าง และองค์การคนทำางาน และหากยังคงกำาหนดให้คณะกรรมการดำาเนินการชี้ขาดข้อพิพาท

                  ควรกำาหนดให้สามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์ หรือฟ้องต่อศาลได้

                                    ๕)  การคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงานและการรวมตัวต่อรอง
                                        ควรเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ....  ให้มีการคุ้มครองใน

                  การปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน จากการถูกแทรกแซงจากนายจ้าง ดังเช่นที่กำาหนดใน
                  ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๒ ที่คุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการลูกจ้าง
                  จากการถูกแทรกแซงจากนายจ้าง
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126