Page 130 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 130

128    ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               กลาโหมปฏิบัติการอื่นที่เป็นการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม เพื่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

               หรือปฏิบัติการอื่นใด  ทั้งนี้ ตามที่มีกฎหมายกำาหนดหรือตามมติคณะรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นการเตรียมกำาลังทหาร
               จึงยังมีความจำาเป็นอยู่เช่นกัน

                                 (๑๐)  สำาหรับกรณีการใช้ทหารกองประจำาการที่ไม่เหมาะสมและไม่เกี่ยวข้องกับภารกิจ
               ของกองทัพ  กองทัพมีมาตรการป้องกันและกวดขันไม่ให้มีการใช้ทหารกองประจำาการผิดวัตถุประสงค์หรือ

               ไม่ตรงต่อภารกิจของทหารกองประจำาการ  ส่วนการฝึกทหารโดยเฉพาะการฝึกภาคสนามกลางแจ้ง ซึ่งอาจส่งผล
               ให้เกิดโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด  กองทัพมีความห่วงใยทหารกองประจำาการเป็นอย่างมาก
               ส่วนการฝึกหรือการลงโทษทหารกองประจำาการ ได้มีการกวดขันและระมัดระวังในการฝึกและการลงโทษ โดยให้

               ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกันหากเกิดการร้องเรียนขึ้นมา

                           ๓.๒.๒  ผู้แทนจากสำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้ข้อมูลและความเห็น ดังนี้

                                 (๑) สำาหรับประเด็นที่ว่าบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา ๒๖  บัญญัติให้
               ประชาชนชาวไทยย่อมมีฐานะเป็นพลเมือง  และมาตรา ๒๗ (๒)  บัญญัติให้  พลเมืองมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
               รับราชการทหาร รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด  โดยนัยนี้คณะอนุกรรมการฯ

               ได้สอบถามถึงความเห็นในเรื่องหน้าที่รับราชการทหารอาจมีความหมายรวมถึงผู้หญิงด้วย  ส่วนหลักการ
               ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๗๓ บัญญัติให้ “บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร...

               ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”  และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติให้ “ชาย
               ที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน”  โดยนัยนี้ ผู้แทนจากสำานักงานปลัด
               กระทรวงกลาโหมให้ข้อมูลว่า หน้าที่ในการรับราชการทหารที่มีลักษณะเป็นการรบหรือถืออาวุธจึงเป็นของผู้ชาย

               เท่านั้น  หากร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติให้การรับราชการทหารเป็นหน้าที่พลเมือง  หน้าที่ในการรับราชการทหาร
               บางประการอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งจะรับไปพิจารณาในรายละเอียดต่อไป

                                 (๒) การถืออาวุธของเด็กและเยาวชนจะมีความเกี่ยวข้องกับหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วย
                                   ่
               สิทธิเด็กที่ห้ามเด็กอายุตำากว่า ๑๘ ปีถืออาวุธ  กระทรวงกลาโหมได้ประสานหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
               ปรับหลักสูตรเรียนวิชารักษาดินแดน (รด.) ใหม่ ให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว  โดยในช่วงการเรียนชั้นปีที่ ๑
                                    ่
               และปีที่ ๒ ห้ามเด็กอายุตำากว่า ๑๘ ปี ฝึกการใช้อาวุธปืน  แล้วจึงเริ่มฝึกการใช้อาวุธปืน ในการเรียนชั้นปีที่ ๓
               ซึ่งเด็กและเยาวชนมีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถถืออาวุธได้  นอกจากนี้ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนได้ปรับ

               หลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ที่จะสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหาร  โดยจะรับผู้สำาเร็จการศึกษาระดับมัธยมชั้นปีที่ ๓
               หรือเทียบเท่าอายุ ๑๗ – ๒๒ ปีบริบูรณ์ หากมีจำานวนผู้สมัครไม่พอจึงรับผู้ที่มีอายุ ๑๖ ปีบริบูรณ์  ส่วนทหารพราน
               ซึ่งมีภารกิจป้องกันประเทศตามพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยมีลักษณะเป็นลูกจ้างประจำา มีความแตกต่างกับ

               ทหารกองประจำาการที่เข้ามาตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

                           ๓.๒.๓  ผู้แทนจากสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ให้ข้อมูลและความเห็น ดังนี้

                                 (๑) พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗  บัญญัติให้ สามารถเรียกหรือ
               ตรวจเลือกคนเป็นตำารวจกองประจำาการเช่นเดียวกับทหารกองประจำาการ  ซึ่งได้ถือปฏิบัติสมัยรัชกาลที่ ๕

               ภายหลังได้ยกเลิกตำารวจกองประจำาการ เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนตำารวจนครบาลและตำารวจภูธรทำาให้มีกำาลัง
               ตำารวจเพียงพอ ตำารวจกองประจำาการจึงไม่มีความจำาเป็นต่อไปและพระราชบัญญัติข้าราชการตำารวจ พ.ศ. ๒๕๔๗
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135