Page 119 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 119
117
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ให้รัฐมนตรีมีอำานาจสั่งให้คณะกรรมการดำาเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน คำาชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
นั้นขัดต่อสิทธิในการเจรจาต่อรองโดยสมัครใจ และไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ
๖.๒.๕ การคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงานและการรวมตัวต่อรอง
กรณีร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๒ มีบทบัญญัติคุ้มครองกรรมการ
ลูกจ้างในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการลูกจ้างจากการถูกแทรกแซงของนายจ้าง เช่น เลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ
หรืออื่นใด อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำางานอยู่ต่อไปได้ แต่ไม่มีมีบทบัญญัติเช่นนี้ต่อกรรมการ
สหภาพแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน
๗. ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนพิจารณาแล้ว เห็นควรมีข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนี้
๗.๑ ข้อเสนอแนะนโยบาย
๗.๑.๑ รัฐบาลควรมีนโยบายและแผนการที่ชัดเจนในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ โดยไม่ต้องรอให้มีการแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับก่อน เพื่อแสดงและยืนยันเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนทำางาน
ตามที่ให้คำามั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไกการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศของสหประชาชาติ
(Universal Periodic Review : UPR)
๗.๑.๒ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงแรงงาน กระทรวงกลาโหม สำานักงานตำารวจแห่งชาติ สำานักงาน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรร่วมกันบัญญัติกฎหมาย หรือปรับปรุงกฎหมาย เพื่อรองรับให้คนทำางานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน
ในระบบ (ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน) แรงงานนอกระบบ (ผู้รับงานไปทำาที่บ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
เกษตรกร ฯลฯ) ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น มีสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัว การนัดหยุดงาน
และการเจรจาต่อรอง เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ
๗.๑.๓ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สำานักงานตำารวจแห่งชาติ
(สำานักงานตรวจคนเข้าเมือง) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันจัดทำาระบบการจัดเก็บข้อมูลของแรงงาน
ข้ามชาติทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยในระบบทะเบียนราษฎร ทั้งที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและเข้าเมืองผิดกฎหมาย
รวมทั้ง ควรมีระบบอำานวยความสะดวกให้แรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายที่มีคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ที่
กฎหมายกำาหนดเป็นแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองถูกกฎหมาย อันเป็นเครื่องมือหนึ่งในการช่วยลดปัญหาการละเมิด
สิทธิแรงงานและลดปัญหาการค้ามนุษย์ในแรงงานข้ามชาติด้วย
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงกลาโหม