Page 120 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 120

118   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               สำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย สำานักงานตำารวจแห่งชาติ (สำานักงานตรวจคนเข้าเมือง)

               และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ควรร่วมกันบัญญัติกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กำาหนดเงื่อนไขในการใช้สิทธิ
               ในการรวมกลุ่มของแรงงานข้ามชาติตามหลักความจำาเป็นและหลักการได้สัดส่วน

                           ทั้งนี้  คำาว่า “คนต่างด้าว” ซึ่งหมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ได้ปรากฏอยู่ในกฎหมาย
               หลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔

               และพระราชบัญญัติการทำางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑  และได้ใช้คำาดังกล่าวเรียก คนทำางานที่ไม่ใช่
               สัญชาติไทยว่า “แรงงานต่างด้าว”  อันอาจจะมีความรู้สึกทางลบที่มีต่อผู้ถูกเรียกได้ จึงเห็นควรให้ใช้ คำาว่า
               “แรงงานข้ามชาติ” แทนคำาที่ใช้เรียกคนต่างด้าวที่ทำางานในประเทศไทยว่า “แรงงานต่างด้าว” ไม่ว่าจะเป็นการ

               เข้าเมืองถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
                           ๗.๑.๔  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเผยแพร่หรือส่งเสริม

               สนับสนุนให้องค์กรด้านแรงงานเผยแพร่และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง
               ประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ อย่างต่อเนื่อง ทั้งต่อภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป



                     ๗.๒ ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย

                           ๗.๒.๑  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงแรงงาน กระทรวงกลาโหม สำานักงานตำารวจแห่งชาติ สำานักงาน
               คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               ควรดำาเนินการ ดังนี้

                                 ๑)  ในระยะสั้น  แต่ละหน่วยงานควรที่จะปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้
               สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ

                                 ๒)  ในระยะยาว  ควรที่จะร่วมกันศึกษาและจัดทำากฎหมายที่มีลักษณะเป็นกฎหมายกลาง

               ของคนทำางานเกี่ยวกับสิทธิในการรวมตัว การนัดหยุดงาน และการร่วมเจรจาต่อรองที่สอดคล้องกับหลักการ
               ตามอนุสัญญาทั้งสองฉบับ

                           ๗.๒.๒  คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงแรงงาน ควรทบทวนแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์

               พ.ศ. ....  และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ
               ในประเด็น ดังต่อไปนี้

                                 ๑)  ในร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ....

                                     ควรแก้ไขคำาว่า “ลูกจ้าง” ซึ่งหมายถึง ผู้ซึ่งตกลงทำางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง
               เป็นคำาว่า คนทำางาน เพื่อที่จะให้ครอบคลุมคนทำางานที่ไม่มีนายจ้าง

                                 ๒)  ประเด็นหลักเกณฑ์การละเว้นการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ
                                     ๒.๑)  ควรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์  พ.ศ. ....  มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๗

               ถึงมาตรา ๕๙  มาตรา ๗๗  มาตรา ๘๕ มาตรา ๘๗ ถึงมาตรา ๘๙  มาตรา ๑๐๙  มาตรา ๑๑๐  มาตรา ๑๑๒
               มาตรา ๑๑๖ และมาตรา ๑๑๗ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕
               และมาตรา ๗๑ ว่าด้วยขั้นตอนของการขอรับใบสำาคัญในการจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์นายจ้าง
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125