Page 116 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 116

114   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               ๖.  ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย และ
                    ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ

                    เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                    คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้พิจารณาข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีความเห็น ดังนี้



                     ๖.๑  ความเห็นต่อประเด็นการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗
                           และฉบับที่ ๙๘

                           เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองถือเป็นสิทธิมนุษยชน
               ขั้นพื้นฐาน  สิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of

               Human Rights) ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๓  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
               (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ ๒๒  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ

               ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights)
               ข้อ ๘  และได้รับการรับรองไว้ในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organiza-
               tion : ILO) ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘

                           ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศตั้งแต่ก่อตั้ง แต่ยังไม่ได้

               เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลัก ๒ ใน
               ๘ ฉบับ ที่ว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศให้ความสำาคัญที่สุด และพยายาม
               รณรงค์ให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีและนำามาปฏิบัติอย่างจริงจัง  ในประเทศไทยมีความพยายามเรียกร้อง

               และผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รัฐบาลเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น มีการเรียกร้องจากขบวนการ
               แรงงานไทย ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน  การมีข้อเสนอแนะจากกระทรวงแรงงาน การที่ผู้แทนรัฐบาลไทย
               ได้ให้คำามั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไกการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศของสหประชาชาติ

               (Universal Periodic Review : UPR) รอบที่หนึ่ง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔) ว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO
               ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘

                           การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับจะช่วยคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของคนทำางานและนายจ้าง
               ในการสมาคมรวมตัวและเจรจาต่อรอง  ลดปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและคนทำางาน ลดปัญหา

               การละเมิดสิทธิแรงงานโดยเฉพาะการเลิกจ้างเนื่องจากเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน  ทำาให้มีการจัดตั้ง
               สหภาพแรงงานขนาดใหญ่ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย ช่วยคุ้มครองสิทธิดังกล่าวของแรงงาน
               นอกระบบซึ่งมีจำานวนมาก และช่วยให้หน่วยงานของรัฐสามารถควบคุมตรวจสอบแรงงานข้ามชาติเข้าเมือง

               ไม่ถูกกฎหมายได้ง่ายและทั่วถึง เปิดโอกาสให้มีการหารือระหว่างฝ่ายต่างๆ ในการแก้ไขกฎหมายภายใน

                           ส่วนข้อกังวลที่ว่า การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับจะทำาให้แรงงานข้ามชาติ  ตลอดจน
               ทหารและตำารวจสามารถรวมตัวกันนัดหยุดงานได้  ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศนั้น เห็นว่า
               โดยหลักการสิทธิในการรวมตัวและการนัดหยุดงานสามารถจำากัดได้โดยการบัญญัติกฎหมาย และจำากัดได้

               เท่าที่จำาเป็นและได้สัดส่วน นอกจากนี้ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ข้อ ๙  และฉบับที่ ๙๘ ข้อ ๕ ได้ให้แนวทางว่า
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121