Page 118 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 118
116 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ทำางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง จึงยังมีคนทำางานอีกมากมายหลายประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับของร่างกฎหมาย
แรงงานทั้งสองฉบับนี้ เช่น ผู้รับงานไปทำาที่บ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป็นต้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ จึงเห็นควรที่แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... โดยใช้คำาว่า
“คนทำางาน” แทนคำาว่า ลูกจ้าง
ส่วนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ว่าสำานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อจัดทำากฎหมายให้ข้าราชการสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ยังคงจำากัดขอบเขตเฉพาะ
ข้าราชการพลเรือนสามัญเท่านั้น
๖.๒.๒ ประเด็นการละเว้นการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ
ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ มีบทบัญญัติที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐแทรกแซง
การทำางานขององค์การลูกจ้าง ดังนี้
๑) ร่างพระราชบัญญัติกำาหนดให้ในการจัดตั้งสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์
นายจ้าง สหพันธ์แรงงาน สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้าง ต้องยื่นขอรับใบสำาคัญรับรองต่ออธิบดี
ยังคงมีขั้นตอนที่คล้ายกับการขอจดทะเบียน เช่น ให้อธิบดีออกใบสำาคัญรับรองการจัดตั้งสหภาพแรงงานนั้น
(ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๘๗ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. .... มาตรา ๔๒)
๒) การให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำานาจ
เข้าไปในสำานักงานของสหภาพแรงงานในเวลาทำาการ ขอให้ส่งหรือแสดงเอกสารหรือบัญชีของสหภาพแรงงาน
สอบถามบุคคลในสหภาพแรงงานเกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของสหภาพแรงงาน (ร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๐๒ และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๗)
และการให้อธิบดีมีอำานาจสั่งให้กรรมการหรือคณะกรรมการของสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานออกจาก
ตำาแหน่งได้ (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๑ และมาตรา ๑๐๓ และร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๘) เห็นว่า การเข้าค้นสำานักงานสหภาพแรงงานควรมีหมายค้น
หรือคำาสั่งศาล และการให้กรรมการของสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงานออกจากตำาแหน่งควรเป็นคำาสั่งของศาล
๖.๒.๓ สิทธิการรวมตัวเป็นสหพันธ์ สมาพันธ์
ร่างพระราชบัญญัติไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นสหพันธ์ สมาพันธ์ หรือ
การเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้าง กล่าวคือ ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... ไม่มี
บทบัญญัติให้สหภาพแรงงานเข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้าง และไม่ได้มีบทบัญญัติให้สหภาพแรงงาน
หรือสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้าง ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับไม่ได้กำาหนดให้
สหภาพแรงงานเอกชนกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสามารถรวมตัวเป็นสหพันธ์แรงงานและสภาองค์การลูกจ้าง
๖.๒.๔ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธินัดหยุดงานและกลไกการเจรจาโดยสมัครใจ
ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับได้กำาหนดว่า กรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า การปิดงานหรือ
การนัดหยุดงาน อาจทำาให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน
แก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน