Page 115 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 115
113
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๕.๒ หลักการด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ
๕.๒.๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ ๒๐
(๑) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพ แห่งการร่วมประชุม และการตั้งสมาคมโดยสันติ
(๒) บุคคลใดๆ จะถูกบังคับให้สังกัดสมาคมใดสมาคมหนึ่งไม่ได้
ข้อ ๒๓
(๔) ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้ง และที่จะเข้าร่วมสหพันธ์กรรมกรเพื่อความคุ้มครองแห่งประโยชน์ของตน
๕.๒.๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อ ๒๒
(๑) บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม รวมทั้งสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วม
สหภาพแรงงานเพื่อปกป้องประโยชน์ของตน
(๒) การจำากัดการใช้สิทธินี้จะกระทำามิได้ นอกจากจะกำาหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำาเป็น
สำาหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย
การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ความในข้อนี้ไม่ห้าม
การวางข้อจำากัดอันชอบด้วยกฎหมายในการใช้สิทธินี้ของทหารและตำารวจ
(๓) ความในข้อนี้ไม่ให้อำานาจรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคมและ
ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้ง ค.ศ. ๑๙๔๘ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในอันที่จะมีมาตรการ
ทางนิติบัญญัติ หรือบังคับใช้กฎหมายในลักษณะที่จะกระทบต่อหลักประกันต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว
๕.๒.๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ข้อ ๘
(๑) รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกัน
(ก) สิทธิของทุกคนที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงานตามที่ตนเลือก เพื่อ
ส่งเสริมและคุ้มครองประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของตน ทั้งนี้ โดยขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ขององค์การ
ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ห้ามจำากัดการใช้สิทธินี้ นอกจากที่ได้กำาหนดโดยกฎหมายและที่จำาเป็นในสังคมประชาธิปไตย
เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแห่งชาติ หรือความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ของผู้อื่น
(ข) สิทธิของสหภาพแรงงานที่จะจัดตั้งสหพันธ์หรือสมาพันธ์แห่งชาติและสิทธิของสมาพันธ์
แห่งชาติที่จะก่อตั้งหรือเข้าร่วมกับองค์การสหภาพแรงงานระหว่างประเทศ
(ค) สิทธิของสหภาพแรงงานที่จะดำาเนินงานอย่างเสรีโดยไม่ขึ้นอยู่กับการจำากัดใด นอกจากที่
ได้กำาหนดโดยกฎหมายและซึ่งจำาเป็นในสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแห่งชาติหรือความสงบ
เรียบร้อยของส่วนรวมหรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
(ง) สิทธิที่จะนัดหยุดงาน หากใช้สิทธิสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้น
(๒) ความในข้อนี้ไม่ห้ามการกำาหนดข้อจำากัดอันชอบด้วยกฎหมายในการใช้สิทธิเหล่านี้โดยทหาร
หรือตำารวจ หรือฝ่ายบริหารของรัฐ