Page 162 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 162
สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
National Human Rights Commission of Thailand
และใชประโยชนปาตามหลักการพหุภาคี โดยควรจัดตั้งเปนรูปคณะทํางานหรือคณะกรรมการทุก ๆ พื้นที่
และจัดทําแผนยุทธศาสตรความรวมมือเพื่อนําไปสูการทํางานรวมกัน
4. ปรับโครงสรางอํานาจและกลไกการตัดสินใจในการบริหารจัดการที่ดินปาไม ควรปรับจากโครงสราง
จากบนตั้งแตรัฐมนตรี อธิบดี ลงสูเจาหนาที่ผูปฏิบัติขางลาง มาเปนกลไกแบบพหุภาคีตามความเหมาะสมของแตละ
พื้นที่ โดยใหมีการเปดเผยขอมูลและขาวสารใหประชาชนรับรูอยางทั่วถึง และควรกําหนดใหมีกลไก
การเจรจาตอรองและคลี่คลายขอพิพาทขัดแยงดานที่ดินปาไมในทองถิ่นไวในกฎหมายปาไม เพื่อเปดโอกาส
ใหราษฎรและเจาหนาที่ของรัฐตลอดจนองคการปกครองสวนทองถิ่นไดทํางานจัดการปญหารวมกันใหถึงที่สุด
5. ปรับปรุงวิธีการกําหนดปาเปนพื้นที่อนุรักษ ทั้งในรูปแบบปาอุทยาน เขตรักษาพันธุสัตวปา
หรือพื้นที่ปาไมถาวรรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ใหมีความเหมาะสมสอดคลอง ทั้งทางระบบนิเวศตามหลักเกณฑวิชาการ
ที่เปนสากลและสภาพทางสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่นั้น ๆ การกําหนดเขตพื้นที่อนุรักษทับพื้นที่อาศัยทํากิน
ของทั้งชุมชนและเปนสาเหตุใหเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงเปนความผิดพลาดที่จําเปนจะตองแกไข
โดยเรงดวน ที่ดินที่ตรวจสอบพิสูจนแลววา มีสิทธิมากอนการประกาศหรือเปนชุมชนไปแลวตองเรงรัดเพิกถอน
สภาพปาโดยเร็ว และนําแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเขาไปพัฒนาใหเปนพื้นที่กันชนปาอนุรักษ และการเพิกถอน
พื้นที่ไมเหมาะสมเปนปาอนุรักษออกจากเขตปาอนุรักษตามกฎหมาย และในกระบวนการตัดสินใจเชิงเทคนิค
เชน การจัดทําแนวเขตปา การพิสูจนสิทธิ ควรปรับเปลี่ยนอํานาจหนาที่และกลไกการตัดสินใจที่เคยเปน
ของกรรมการระดับชาติซึ่งไมมีความรูความเขาใจในบริบทและปญหาในพื้นที่มาทําหนาที่ในการกํากับนโยบาย
และทิศทางการทํางาน และสรางและพัฒนากลไกการทํางานแบบมีสวนรวมของไตรภาคีประจําทุกพื้นที่ คือองคกร
ชุมชน องคการปกครองสวนทองถิ่น และหนวยงานของรัฐรวมกันตัดสินใจ
6. การประกาศ/ขยายเขตปา การประกาศ/ขยายปา พ.ร.บ.ปาสงวนแหงชาติ มาตรา 6 และ 7
อาศัยอํานาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวง สวนปาอนุรักษ พ.ร.บ.อุทยานแหงชาติ มาตรา 6 และ 7 พ.ร.บ.เขตรักษา
พันธุสัตวปา มาตรา 33 และ 34 ใหอํานาจคณะรัฐมนตรีออกพระราชกฤษฎีกาประกาศ/ขยาย/เพิกถอนเขตปา
ซึ่งในทางปฏิบัติมีปญหาหลายประการ เชน
แนวเขตปาในแผนที่ สวนใหญเริ่มจากแผนที่ปาสงวน โดยมักขีดตามเสนลายขอบเขาจึงไมตองตรงกับ
สภาพภูมิประเทศจริงและไมไดสํารวจชุมชนที่มีอยูในพื้นที่ โดยเฉพาะเขตปาสงวนที่ประกาศในยุคที่ใชแผนที่ระวาง
1:50000 ของกรมแผนที่ทหาร ทําใหทับที่ของราษฎรและชุมชนซึ่งไมมีสภาพเปนปาแตมีสภาพเปนบานเรือน
พื้นที่เกษตร และแหลงนํ้าใชในการเกษตร เมื่อประกาศเขตปาทําใหพื้นที่ราษฎรและชุมชนมีสภาพเปนปา
ตามกฎหมาย ทําใหราษฎรเปนผูอาศัยทํากินอยางผิดกฎหมาย เมื่อมีการประกาศเขตปาอนุรักษทับเขตปาสงวน
ก็มักจะมีการประกาศครอบแนวเขตปาสงวน แตบางพื้นที่ก็ครอบแนวเขตปาสงวนไมสนิท ทําใหแนวเขตปา
มีความคลาดเคลื่อนไมตรงกัน จึงเกิดแนวเขตปาหลายแนวโดยไมสามารถชี้ชัดวาแนวเขตใดถูกตอง ทําใหเกิด
ปญหาพิพาทระหวางเจาหนาที่ปาไมกับชุมชนที่อยูชายขอบปา และยังสงผลใหราษฎรที่มีที่ดินติดตอกับแนวเขตปา
ไมสามารถออกเอกสารสิทธิที่ดินไดเพราะเจาหนาที่ปาไมไมยอมชี้แนวเขตปา เจาหนาที่ที่ดินจึงไมสามารถ
ออกเอกสารสิทธิที่ดินใหได เมื่อมีนโยบายจากสวนกลางใหทําโครงการตาง ๆ ในพื้นที่ จึงมักทับที่ดินราษฎร
จนเดือดรอน
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข 141
นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”