Page 164 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 164

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand


                        การปรับแนวคิดเกี่ยวกับปาและการจัดการปา
                        นอกจากประเด็นทางนโยบายและกฎหมายแลว สังคมไทยควรจะเรียนรูจากผลงานวิจัยรางวัลโนเบล

               ของ อิลินอร ออสตรอม ที่เสนอวาขอจํากัดและปญหาไรประสิทธิภาพของของรัฐและเอกชนในการจัดการ
               ทรัพยากรสวนรวมมีทางออกดวยการใหสิทธิแกชุมชนไดดูแลและจัดการใชประโยชนรวมกันดวยกติกาที่ชุมชน

               ตกลงกันเอง เปนการจุดประกายแนวคิดใหม ๆ ในสังคมโลกไดเรียนรูและมีทางออกจากความขัดแยง ชวยให
               การจัดการจัดการปาและทรัพยากรธรรมชาติสอดคลองกับปญหาความตองการของราษฎรและสภาพทรัพยากร

               ในทองถิ่น ควรจะตองสรุปผลงานของออสตรอมเผยแพรและสัมมนาใหทั้งผูบริหารและผูปฏิบัติไดรับทราบ
               เพื่อหาทางนํามาปรับใชทั้งทางนโยบายและมาตรการใหเขากับบริบทของสังคมไทย

                        ในการวางแผนและมาตรการจัดการปา ควรจะตองทบทวนดวยการเรงรัดจําแนกเขตการใชประโยชน
               พื้นที่ปาใหชัดเจน  ควรนําแนวคิดการจัดการเขตกันชน (Buffer zone management)  มาประกอบ

               การกําหนดมาตรการใชประโยชนทรัพยากร แนวคิดเขตกันชนนี้ไดแบงพื้นที่ปาเปนโซนตามระดับความเขมขน
               ของการใชประโยชน เชนโซนแกนกลาง เชนบนเขาใหญหรือกลางปาหวยขาแขง เปนโซนที่ตองรักษาปา

               อยางเขมงวด อนุญาตใหใชปาไดทางการศึกษาวิจัยเพื่อรักษาธรรมชาติเทานั้น และโซนการใชทรัพยากรอยางยั่งยืน
               เปนโซนที่ถัดออกมาจากโซนแกนกลาง ซึ่งควรอนุญาตใหใชประโยชนในทางเศรษฐกิจไดบนฐานจารีตประเพณี

               และวัฒนธรรมของชุมชนทองถิ่นซึ่งอยูบนหลักการเกื้อกูลตอระบบนิเวศอยูแลว และโซนเศรษฐกิจดานนอก
               ซึ่งมีความเขมงวดในการใชทรัพยากรตํ่าสุดแตก็ตองคํานึงถึงความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศเชนกัน

                        และเมื่อจําแนกเขตปาในระบบใหมแลว การปลูกปาหรือฟนฟูปาก็ตองพิจารณาความสอดคลอง
               กับระบบนิเวศเปนสําคัญ ควรเนนการฟนปาดวยกระบวนการทางธรรมชาติ หรือชวยธรรมชาติใหฟนตัวไดเร็วขึ้น

               (Assisted natural regeneration) ในกรณีที่พื้นที่นั้น ๆ มีปญหาการฟนฟูตัวเองตามธรรมชาติ จึงควร
               จะตองทบทวนโครงการปลูกปาขนาดใหญทั้งหมดที่ทุมเทงบประมาณมากมายแตไมประสบความสําเร็จ

               และสรางการมีสวนรวมของชุมชนใหรวมกันฟนปาดวยกระบวนการทางนิเวศตามธรรมชาติ
                        สวนการอนุญาตใหเขาทําประโยชนที่ดินปาไม ตองทบทวนนโยบายและมาตรการอยางจริงจัง

               ไมควรอนุญาตใหเชาที่ดินปาไมเพื่อทําการเกษตรเชิงพาณิชยหรือปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่สงผลกระทบตอระบบนิเวศ
               และสิ่งแวดลอม สําหรับที่ดินปาไมที่รัฐจัดสรรใหราษฎรในรูปโครงการตาง ๆ เชน หมูบานปาไม สทก.

               รวมทั้ง ส.ป.ก. จะตองทบทวนมาตรการการใชประโยชนที่ดินใหมีความสมดุลยั่งยืนและการปกปองคุมครองสิทธิ
               ของเกษตรกรไมใหถูกอํานาจเงินมาทําใหที่ดินเปลี่ยนมือไปอยูกับผูที่ไมไดทําการเกษตร

                        และสําหรับปญหาเฉพาะหนาที่มีผลกระทบรุนแรงตอราษฎรในปจจุบันคือการลงโทษทั้งทางแพง
               และทางอาญา ตลอดจนการจํากัดการพัฒนาไมยอมใหปกเสาพาดสายไฟฟาเขาไปในพื้นที่ ลวนแลวแตมีนัยยะ

               ละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น กรณีขัดแยงเกี่ยวกับที่ดินปาไมในพื้นที่ซึ่งรัฐโดยฝายบริหารกําลังดําเนินนโยบาย
               แกไขปญหา ควรจะตองยุติการจับกุมดําเนินคดีไวกอนจนกวากระบวนการแกไขปญหาทางนโยบายสิ้นสุดลง

               ราษฎรที่อยูระหวางการดําเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมก็ควรไดรับการชะลอคดีหรือพักโทษแลวแตกรณี
               เพื่อรอผลการแกไขปญหาทางนโยบายเชนกัน




                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  143
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169