Page 140 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 140

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

                        การวิเคราะหปญหาจากบทบัญญัติของกฎหมายวาดวยการปาไมพบวา แนวคิดที่ไมยอมรับการใชสิทธิ

               ของชุมชนและแนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของรัฐขางตนเปนพื้นฐานที่รัฐใชในการกําหนดกฎหมายวา

               ดวยการปาไมที่มีผลใชบังคับตอชุมชนในพื้นที่นั้น มีปญหาในเชิงประเด็นที่สงผลกระทบตอสิทธิของชุมชน
               ในการจัดการและใชประโยชนทรัพยากรปาไม อยู 3 ประการ กลาวคือ

                        (1)  ปญหาจากการนิยามและกําหนดพื้นที่ปา (เนื้อหากฎหมาย) โดยบทบัญญัติของกฎหมายปาไม

               ตางนิยามพื้นที่ “ปา” ในความหมายเดียวกันคือ “ที่ดินที่ยังมิไดมีบุคคลใดไดมาโดยชอบดวยกฎหมาย” นิยาม
               พื้นที่ปาลักษณะนี้ทําใหเกิดปญหากับชุมชนเพราะแมชุมชนจะมีหลักฐานการครอบครองที่ดินมากอนการประกาศ

               เขตปาและมีหลักฐานที่พิสูจนได เชน ปาชาที่ฝงศพ ตนไมใหญ หรือหลักฐานอื่นที่ชัดเจนเพียงใด แตหากไมมี
               การดําเนินการโดยชอบตามกฎหมายที่ดิน บุคคลหรือชุมชนนั้นก็ไมมีสิทธิในที่ดินตลอดจนสิทธิในการจัดการ

               และใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติภายในที่ดินที่ตนครอบครองอยูและตองตกอยูในบังคับของกฎหมายฉบับนี้

               โดยกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมายไมสนใจขอเท็จจริงวา การที่จะใหชุมชนที่อยูในพื้นที่ปาเขาหางไกลมาแจง
               การครอบครองที่ดินตามกฎหมายที่ดินนั้นเปนไปไดหรือไม ทั้งนี้ ยังไมไดพิจารณาดวยวาชุมชนเหลานี้รูหรือไมวา

               มีกฎหมายกําหนดใหพวกเขาตองดําเนินการดวยหรือไม ในขณะเดียวกันการกําหนดพื้นที่ใหเปนเขตรักษา
               พันธุสัตวปา เขตอุทยานแหงชาติ หรือเขตปาสงวนแหงชาติ ก็เปนอํานาจของรัฐเพียงหนวยเดียวเทานั้น โดยไมได

               เปดใหชุมชนซึ่งอยูอาศัยในพื้นที่มาชานานไดรับรูและมีสวนรวมในการตัดสินใจดวยเลย ทําใหรัฐพิจารณาพื้นที่

               ที่เหมาะสมเฉพาะประเด็นดานความอุดมสมบูรณของทรัพยากรธรรมชาติอยูฝายเดียวเทานั้น โดยไมไดพิจารณา
               ในประเด็นการครอบครองหรือใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติที่สัมพันธกับชุมชนในฐานะที่เปนปจจัยสําคัญ

               การดํารงชีวิตของชุมชน และไมไดเปดใหชุมชนซึ่งอยูอาศัยในพื้นที่มาชานานไดมีสวนรวมในการตัดสินใจดวย

               พื้นฐานแนวคิดของรัฐในการกําหนดพื้นที่ปาดังกลาวนี้ สะทอนใหเห็นแนวคิดที่ไมยอมรับตัวตนของชุมชน
               และแนวคิดในการหวงกันทรัพยากรธรรมชาติโดยรัฐเพียงฝายเดียว

                        การไมยอมรับตัวตนของชุมชนที่ครอบครองและทําประโยชนอยูกอนแลวในพื้นที่ดังกลาว ทําใหชุมชน

               กลายเปนผูกระทําผิดกฎหมายรัฐ ทั้งที่หากพิจารณาตามหลักสิทธิชุมชนทั้งตามกฎหมายระหวางประเทศ
               และรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ชุมชนในพื้นที่ปาหลายพื้นที่อาจถือเปนผูทรงสิทธิชุมชน

               ที่รัฐตองยอมรับและใหการคุมครองการใชสิทธิของชุมชน โดยประเด็นปญหานี้ยังเชื่อมโยงไปถึงปญหาอันเกิดจาก
               การทําหนาที่ของผูใชกฎหมายอีกดวยที่พบวา เจาหนาที่รัฐผูใชกฎหมายสวนใหญมีทัศนคติทางลบกับชุมชน

               ในเขตปาไมเขาใจบริบททางสังคม และขาดความรูความเขาใจและศิลปะในการทํางานกับชุมชน และเจาหนาที่มัก

               ใชดุลพินิจมากเกินไปและมักใชไปในทางที่มิชอบ
                        (2)  ปญหาการหามใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ปา ซึ่งในอีกดานหนึ่งลวนแลวแตเปนลักษณะ

               การใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติอันเปนพื้นฐานในการดํารงวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวา
               การหามดังกลาวนั้น แทบจะทําใหชุมชนไมอาจดํารงวิถีชีวิตอยูไดเลย






                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  119
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145