Page 142 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 142
สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
National Human Rights Commission of Thailand
และเนื่องจากมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไดกําหนดใหสิทธิ
และเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองโดยชัดแจง ยอมไดรับความคุมครองจากองคกรของรัฐ โดยในกรณีนี้สิทธิชุมชน
ซึ่งไดถูกรับรองไวโดยชัดแจงในมาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
และยังถูกรับรองไวในคําพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองอีกหลายคดีวาสิทธิชุมชนที่รับรอง
ในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยนั้น มีผลบังคับใชโดยทันที จึงถือไดวาสิทธิชุมชนตองไดรับความคุมครอง
ทั้งในการตรากฎหมาย การใชบังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายของหนวยงานของรัฐตาง ๆ ดวยโดยทันที
เชนกัน
ดังนั้น แมบทบัญญัติของกฎหมายวาดวยการปาไม จะมิไดเอื้ออํานวยตอการใชสิทธิของชุมชน
อยางเพียงพอและยั่งยืนและทําใหรัฐมีทัศนคติที่ไมถือเปน “หนาที่ตามกฎหมาย” ที่ตองรับรองและคุมครอง
สิทธิชุมชนอยางเครงครัดและเทาเทียมกับหนาที่ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในฐานะสมบัติของรัฐ
แตหากพิจารณาตามบทบัญญัติมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ถือไดวา
รัฐธรรมนูญไดกําหนดใหเจาหนาที่รัฐตองถือเปนหนาที่โดยทันทีนับตั้งแตรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มีผลบังคับใชในการรับรองและคุมครองสิทธิชุมชนทั้งในการใชและการตีความกฎหมาย
และเจาหนาที่รัฐก็มิอาจปฏิเสธหนาที่ในการรับรองและคุมครองสิทธิชุมชนได เพราะหนาที่ดังกลาวนั้นไดถูกกําหนด
ไวอยางชัดแจงในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเปนกฎหมายสูงสุดของรัฐ
ปญหาขอบเขตของสิทธิชุมชน ในหลักกฎหมายทั่วไปนั้น “สิทธิ” คือความชอบธรรมที่บุคคลอาจใช
ยันกับผูอื่น เพื่อคุมครองหรือรักษาผลประโยชนอันเปนสวนที่พึงไดของบุคคลนั้น หรือกลาวอีกนัยหนึ่งคือ สิทธิคือ
ประโยชนที่บุคคลมีความชอบธรรมที่จะไดรับ ดังนั้น ในทางกลับกัน การดําเนินการใด ๆ เพื่อใหไดรับประโยชน
ที่นอกเหนือจากที่ตนควรไดรับตามกฎหมาย ในกรณีนี้กฎหมายก็จะไมรับรองและคุมครองให ดังนั้น สิ่งที่
“กฎหมายรับรองและคุมครอง” จึงเปน “ขอบเขตของการใชสิทธิ”
แตเนื่องจากรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไมไดกําหนดรายละเอียด
ของสิทธิชุมชนเอาไววา มีลักษณะหรือขอบเขตของสิทธิชุมชนอยางไร จึงมีปญหาตามมาวาสิทธิชุมชน
ในการจัดการและใชประโยชนทรัพยากรปาไมมีขอบเขตอยางไร โดยจากการศึกษาพบวา ในเรื่องนี้มีแนวคิด
ที่เปนหลักการอยู 2 อยาง กลาวคือ แนวคิดการเปรียบเทียบระหวางสิทธิดั้งเดิมของชุมชนทองถิ่นดั้งเดิม
กับสิทธิมีสวนรวมของบุคคลทั่วไป และแนวคิดสิทธิเชิงซอน (Complexity of Rights)
โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทั้ง 2 แนวคิด จะเห็นวามีความคลายคลึงกัน และอาจกลาวไดวา
แนวคิดคิดสิทธิเชิงซอนคือการตอบคําถามแนวคิดแรกที่ตองเลือกระหวางสิทธิดั้งเดิมของชุมชนกับสิทธิของ
บุคคลทั่วไป เพราะหลักการจัดการในการควบคุมและกําหนดการใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติอยางเปนธรรม
ภายใตแนวคิดสิทธิเชิงซอนนั้น ไมไดละเลยประโยชนสาธารณะที่บุคคลทั่วไปควรไดรับและยังใหรัฐเปนผูดูแล
ประโยชนสาธารณะใหตกแกบุคคลทั่วไปโดยทั่วถึงอยางที่เคยเปนมาอีกดวย เพียงแตตอกยํ้าใหรัฐตองตระหนักวา
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข 121
นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”