Page 141 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 141

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand


                         (3)  ปญหาอํานาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ผูใชกฎหมาย) เนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมาย
                กําหนดใหพนักงานเจาหนาที่เทานั้นที่มีอํานาจ “จัดการ” ใด ๆ ในพื้นที่ปา ดังนั้นเมื่อเจาหนาที่ของหนวยงานปาไม

                เปนผูรางกฎหมาย เปนผูใชบังคับกฎหมาย ติดตามการใชกฎหมาย และปรับปรุงแกไขกฎหมายกันเอง กระบวนการ
                บริหารจัดการที่รวบอํานาจไวที่หนวยงานเดียวดังที่กลาวมานี้ ยอมทําใหกฎหมายที่บังคับใชมีลักษณะที่ไมโปรงใส

                และไมเปนธรรมสูง

                         ผลของเนื้อหาในกฎหมายและผูใชกฎหมายที่มีลักษณะเชนนี้ จึงทําใหมีประชาชนจํานวนมากอยูอาศัย
                ทํากินโดยผิดกฎหมายปาไม สถิติตัวเลขป พ.ศ. 2544 มีประชาชนประมาณ 4.6 แสนครัวเรือนหรือ 1 ใน 5

                ของประชากรไทยตองอยูอาศัยทํากินโดยผิดกฎหมายปาไม

                         ทั้งนี้ แมวาชุมชนจะมีวิถีวัฒนธรรมและความเชื่อในการจัดการและใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติ
                ในรูปแบบที่ไมกระทบกับระบบนิเวศทางธรรมชาติซึ่งก็เปนไปตามเจตนารมณของกฎหมาย แตก็ไมอาจดําเนินการ

                ใด ๆ ได เพราะขัดกับบทบัญญัติของกฎหมาย เชน กรณีการดําเนินนโยบายโฉนดชุมชนที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไมสามารถ

                ดําเนินการไดโดยเฉพาะในพื้นที่ปาอนุรักษ เนื่องจากกรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช กลาววา
                เพราะกฎหมายปาไมไมไดเปดชองใหดําเนินการได โดยหากจะดําเนินการตามนโยบายดังกลาว ก็ตองเพิกถอนพื้นที่

                ปาออกจากกฎหมายที่บังคับใชอยูเทานั้น ดังนั้น แมในบทบัญญัติของกฎหมายวาดวยปาไมจะมิไดปดกั้นการใชสิทธิ
                ของชุมชนในการจัดการและใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติ แตก็มิไดเอื้ออํานวยตอการใชสิทธิของชุมชน

                ดวยเชนกัน เนื่องจากกฎหมายกําหนดใหพนักงานเจาหนาที่เทานั้นที่มีอํานาจดําเนินการในพื้นที่ปาได จึงทําให

                การใชสิทธิของชุมชนดังกลาวตองขึ้นอยูกับดุลพินิจในการบังคับใชกฎหมายของเจาหนาที่ผูมีอํานาจตามกฎหมาย
                ซึ่งหากเจาหนาที่มีวิธีคิดที่ไมยอมรับสิทธิชุมชน ก็อาจจะบังคับใชกฎหมายในลักษณะที่ละเมิดสิทธิชุมชนได

                         เนื่องจากสิทธิชุมชนอันถือเปนสิทธิธรรมชาติที่ไมอาจถูกยกเลิกหรือขัดขวางไดจากรัฐ ทําใหในการ
                ตรากฎหมาย การใชกฎหมาย และการตีความกฎหมายของรัฐ จึงควรถือเปนหนาที่ที่รัฐตองรับรองและคุมครองสิทธิ

                ชุมชนใหมีสถานะที่เทาเทียมกับสิทธิและเสรีภาพในดานอื่น ๆ ดวย แตเนื่องจากบทบัญญัติของกฎหมายวาดวย

                การปาไมเกิดขึ้นในชวงเวลาที่แนวคิดสิทธิชุมชนยังไมถูกยอมรับใหมีสถานะที่เทาเทียมกับสิทธิและเสรีภาพ
                ดานอื่น ๆ ในรัฐ ประกอบกับแนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยรัฐเพียงหนวยเดียว ทําใหบทบัญญัติ

                ของกฎหมายวาดวยการปาไมจึงไมมีบทบัญญัติใดที่กําหนดใหรัฐตองมีหนาที่อยางเครงครัดในการรับรอง

                และคุมครองสิทธิของชุมชนใหเทาเทียมกับการทําหนาที่ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในฐานะที่เปนสมบัติ
                ของรัฐ แมกฎหมายจะมิไดมีบทบัญญัติใดที่ปดกั้นการใชสิทธิของชุมชนอยางสิ้นเชิง แตก็ยังไมเอื้ออํานวยให

                การใชสิทธิในการจัดการและใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมีไดอยางเพียงพอและยั่งยืน ซึ่งอาจทําให

                สถานการณปญหาการละเมิดสิทธิชุมชนอาจกลับมามีความรุนแรงไดอีกครั้ง










         120     รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146