Page 13 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 13

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand

                            - กรณีกระบวนการในการออกเอกสารสิทธิที่ไมรัดกุมเพียงพอ สงผลกระทบหลายดาน โดยเฉพาะ

                กับราษฎรที่ถูกออกโฉนดทับที่ ทําใหเสียสิทธิในที่ดิน ถูกดําเนินคดีในขอหาบุกรุก ดังนั้น ในกระบวนการรับจํานอง
                และขายทอดตลาดจะตองมีคณะกรรมการตรวจสอบพื้นที่จริง วาเปนเอกสารสิทธิที่ออกโดยชอบ เปนพื้นที่

                ที่ไมอยูระหวางคดีพิพาท
                            - พื้นที่ที่เปนคดีและถูกสถาบันการเงินยึด จะตองยกเลิกระบบการขายทอดตลาด เปลี่ยนเปน

                การมอบใหหนวยงานที่รัฐจัดตั้งขึ้น เขามาจัดสรรใหราษฎรที่มีความจําเปนใชประโยชน
                            - การออกเอกสารโดยไมชอบในพื้นที่ตาง ๆ สวนหนึ่งเกิดจากการกวานซื้อที่ดิน เมื่อชาวบาน

                ไมขายก็จะใชวิธีกดดัน บีบใหขาย รากเหงาของปญหาคือการถือครองที่ดินโดยไมจํากัด ดังนั้น ตองแกโดยการยกเลิก
                ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2502 และนํากฎหมายที่ดินมาตรา 34 - 49 เรื่อง

                การจํากัดการถือครองที่ดินกลับมาบังคับใช
                            - ยกเลิกเอกสารแสดงการครอบครองและใชประโยชนที่ดินชั่วคราวซึ่งออกโดยหนวยราชการ

                ตาง ๆ ที่ทําใหเกิดหลายมาตรฐานและกระทบสิทธิของราษฎร ใหมาใชเอกสารแสดงการครอบครองและใชประโยชน
                ที่ดินระบบเดียวกัน เชน เอกสาร ส.ป.ก.

                            - ระบบเอกสารสิทธิ เอกสารสิทธิตองเปนระบบเดียว ซึ่งอาจเปนโฉนดหรือเอกสารรูปแบบอื่น
                ตามที่จะกําหนดขึ้น แตเอกสารดังกลาวจะตองมีเงื่อนไขทายเอกสารเพื่อกํากับการใชประโยชนที่ดินที่แตกตางกันไป

                ตามบริบทพื้นที่ เชน สภาพภูมิประเทศ ความอุดมสมบูรณของทรัพยากรธรรมชาติ ความลอแหลมตอภัยพิบัติ
                หรือลักษณะการใชประโยชน มีการจํากัดการถือครองที่ดิน และจะตองใชประโยชนตรงตามเงื่อนไขของพื้นที่

                            - ขอเสนอเรื่องระบบกรรมสิทธิ์ การใชประโยชนที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการครอบครอง
                การเปลี่ยนมือ และการใชประโยชนที่ดิน ในปจจุบันระบบกรรมสิทธิ์ที่มีหลากหลายทําใหเกิดความเหลื่อมลํ้า

                และนําไปสูการละเมิดสิทธิของเกษตรกร และยังสงผลถึงการใชที่ดินผิดประเภท และที่ดินเปลี่ยนมือไดโดยงาย
                จึงเสนอใหบูรณาการระบบกรรมสิทธิ์ การเปลี่ยนมือ และการใชประโยชนเขาดวยกัน ดังนี้

                            1. ใหมีระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินระบบเดียว ที่เรียกวา “โฉนด” หรือชื่ออื่น
                            2. โฉนดจะตองมีเงื่อนไขประกอบในการใชประโยชนที่ดินที่แตกตางกันตามสภาพเศรษฐกิจ

                สังคม วัฒนธรรม ระบบนิเวศของพื้นที่นั้นๆ
                            3. การเปลี่ยนมือถือครองที่ดิน เสนอใหมี 2 เงื่อนไข คือ 1) สิทธิของปจเจกที่จะถือครอง

                และใชประโยชนที่ดินตามเงื่อนไขในเอกสารสิทธินั้น ๆ 2) ความเห็นชอบของชุมชนที่จะยินยอมใหบุคคล
                ใชที่ดินประกอบอาชีพที่ไมขัดตอวิถีชีวิต วัฒนธรรม สรางความเดือดรอนและผลกระทบใหกับชุมชน

















            X    รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18