Page 122 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 122

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                                                                                               National Human Rights Commission of Thailand

               เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติพิจารณาในการประชุม ครั้งที่ 2/2530 เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2530

               ซึ่งที่ประชุมมีมติ ดังนี้

                            1.  การกําหนดพื้นที่ปาตนนํ้าลําธารตามหลักเกณฑขอ (5) ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
               2 กันยายน พ.ศ. 2529 ใหหมายความรวมถึงพื้นที่ลุมนํ้าชั้นที่ 1 A ชั้นที่ 1 B และชั้นที่ 2

                            2.  ในการกําหนดใหพื้นที่ใดเปนปาเสื่อมโทรม ตามพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ พ.ศ. 2507

               ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 นั้น  ไมมีผลผูกพันในการที่จะใหราษฎร
               เขาไปทําประโยชนตลอดไป สําหรับราษฎรซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไวในระเบียบของกรมปาไมวาดวยหลักเกณฑ

               เงื่อนไขในการอนุญาตใหทําประโยชนและที่อยูอาศัยภายในเขตปรับปรุงปาสงวนแหงชาติ พ.ศ….ตามมาตรา 16 ทวิ
               และมาตรา 16 ตรี แหงพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติฯ ดังกลาว ก็สามารถเขาทําประโยชนไดตามระยะเวลา

               ที่กําหนดไวในหนังสืออนุญาตใหทําประโยชนและอยูอาศัยในเขตปรับปรุงปาสงวนแหงชาติทายระเบียบนี้

                            วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ เรื่อง
               หลักเกณฑและเงื่อนไขในการกําหนดสภาพปาเสื่อมโทรม ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม

               โดยใหพื้นที่ปาตนนํ้าลําธารตามหลักเกณฑ ขอ (5) ของมติคณะรัฐมนตรี 2 กันยายน พ.ศ. 2529 (มิใหกําหนด
               เปนปาเสื่อมโทรมแมจะมีตนไมอยูนอย)  ใหรวมถึงพื้นที่ลุมนํ้าชั้นที่ 1 A,  1 B  และชั้นที่ 2 สวนการกําหนดใหพื้นที่

               ใดเปนปาเสื่อมโทรมตามพระราชบัญญัติปาสงวน ฯ พ.ศ. 2507 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ

               (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 ไมมีผลผูกพันใหราษฎรเขาทําประโยชนตลอดไป แตเขาทําประโยชนตามเวลาที่กําหนด
               ในหนังสืออนุญาตใหทําประโยชนและอยูอาศัยในเขตปาสงวนแหงชาติ

                            วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2532 ประธานคณะกรรมการนโยบายปาไมแหงชาติ มีหนังสือ ดวนมาก

               ที่ กษ 0709(4)/12741 ลงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2532 เสนอใหคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี
               เรื่อง  หลักเกณฑและเงื่อนไขในการกําหนดสภาพปาเสื่อมโทรม  โดยแจงวา  เดิมคณะรัฐมนตรีไดมีมติ

               เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2529 และวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530 อนุมัติหลักเกณฑและเงื่อนไขในการกําหนด

               สภาพปาเสื่อมโทรมตามความในมาตรา 16 ทวิ แหงพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งแกไขเพิ่มเติม
               โดยพระราชบัญญัติปาสงวนแหงชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 ดังนี้

                            1.  เปนปาที่มีไมมีคาที่มีลักษณะสมบูรณเหลืออยูเปนสวนนอยและปานั้นยากที่จะกลับฟนคืนดีได
               ตามธรรมชาติ โดยมีลูกไมขนาดความสูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป ขึ้นกระจายอยูทั่ว พื้นที่ไมเกินไรละ 20 ตน หรือ

               มีไมขนาดความโตวัดโดยรอบลําตนตรงที่สูง 130 เซนติเมตร ตั้งแต 50 - 100 เซนติเมตร ขึ้นกระจาย

               อยูทั่วพื้นที่ไมเกินไรละ 8 ตน หรือมีไมขนาดความโตเกิน 100 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกระจายอยูทั่วพื้นที่ไมเกิน
               ไรละ 2 ตน หรือพื้นที่ปาไมที่มีเขาหลักเกณฑทั้ง 3 ลักษณะดังกลาว เมื่อรวมกันแลวตองมีจํานวนไมเกินไรละ

               16 ตน








                                                                       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข  101
                                                                นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127